วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2555


32
กรมวิทยาศาสตร์บริการ

การผลิตถ่านอัดแท่งจากวัสดุทางการเกษตร
ปัญหาเชื้อเพลิงในปัจจุบัน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำลง จึงมีความจำเป็นที่ต้องการหาวัสดุที่
สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิง โดยเฉพาะการใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้ม ปิ้ง ย่างของครัวเรือน และร้านอาหารต่างๆ ในอดีตจะใช้
ไม้เป็นเชื้อเพลิงอาจจะอยู่ในรูปของไม้ฟืน หรือถ่านไม้ แต่ในปัจจุบันปริมาณไม้มีปริมาณไม่มากนัก จึงทำให้มีความสนใจในการ
นำวัตถุดิบหรือวัสดุทางการเกษตรได้แก่ กะลามะพร้าว เศษไม้ยางพารา ข้อไม้ไผ่ กะลาปาล์ม ขี้เลื่อย ซังข้าวโพด เศษไม้ต่างๆ
เป็นต้น มาผลิตเป็นเชื้อเพลิง กระบวนการผลิตเชื้อเพลิงเป็นการเผาแล้วนำมาอัดเพื่อให้อยู่ในรูปแบบของถ่านอัดแท่ง หรือถ่าน
อัดเป็นก้อน เนื่องจากใช้สะดวก ไม่มีควัน เผาไหม้ได้นาน และราคาไม่สูงมากเมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงอื่น แต่ปัญหาของคุณภาพ
ของถ่านอัดแท่งในปัจจุบันมีหลายประการ คือ มีลักษณะเปราะ มีควันระหว่างการติดไฟ ระยะเวลาในการเผาไหม้สั้น และเกิด
เชื้อรา
จากปัญหาดังกล่าวกรมวิทยาศาสตร์บริการได้ทำการศึกษาวิจัยโดยนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหา และ
สามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีกระบวนการผลิตถ่านอัดแท่ง และให้คำปรึกษาในการแก้ปัญหาให้กับกลุ่มชุมชนและผู้สนใจได้
การผลิตถ่านอัดแท่งจากวัสดุทางการเกษตร
ชื่อผลงาน
สิทธิบัตร / อนุสิทธิบัตร หมายเลข
ประเภทผลงาน
ลักษณะกิจกรรม
กลุ่มเป้าหมาย
..............................
งานวิจัยพัฒนา
ถ่ายทอดเทคโนโลยี ขายเทคโนโลยี
ให้คำปรึกษา
ชุมชน ผู้ประกอบการ/SMEs33
เทคโนโลยีวศ.

คุณสมบัติเด่น

ประโยชน์

ขั้นตอนการผลิต

ผู้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีวศ.

การผลิตถ่านอัดแท่งจากวัสดุทางการเกษตรได้แก่ กะลามะพร้าว เศษไม้ยางพารา ข้อไม้ไผ่ กะลาปาล์ม เป็นต้น
เป็นการนำทรัพยากรธรรมชาตินั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นการเพิ่มมูลค่าของวัตถุดิบนอกจากนี้เป็นการเพิ่มพลังงาน
ทางเลือกให้แก่ชุมชน
1. ถ่ายทอดเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิตถ่านอัดแท่ง เพื่อเข้าไปพัฒนากระบวนการผลิตและคุณภาพผลิตภัณฑ์ สินค้า
OTOP. ให้ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
2. เป็นการเพิ่มมูลค่าวัสดุและผลิตผลทางการเกษตร
3. ใช้ทรัพยากรธรรมชาติในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด
4. พัฒนาขีดความสามารถในการพึ่งตนเองในด้านการแปรรูปถ่าน
1. นำวัตถุดิบชนิดต่างๆมาเผาให้เป็นถ่าน
2. บดถ่านที่ได้จากการเผา
3. ผสมถ่านกับแป้ง แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน โดยใช้แป้ง ร้อยละ 5-7 ของน้ำหนักถ่าน
4. แล้วค่อยๆเติมน้ำผสมเข้าให้ทั่ว(ทดสอบปริมาณน้ำโดยการนำถ่านมากำในมือแล้วอยู่เป็นก้อนได้)
5. นำถ่านที่ผสมได้ไปใส่ในเครื่องอัดรีด เพื่อผลิตเป็นถ่านอัดแท่ง จากนั้นตัดขนาดถ่านความยาวตามต้องการ
6. นำถ่านที่อัดแท่งที่ผลิตได้ไปตากแดด หรืออบในตู้อบ
7. วิเคราะห์ทดสอบหาค่าความร้อน ความชื้นและการใช้งาน
การถ่ายทอดเทคโนโลยี
1. กลุ่มเกษตรกรในจังหวัดนครศรีธรรมราช
2. กลุ่มเกษตรกรในจังหวัดกาญจนบุรี
3. กลุ่มเกษตรกรในจังหวัดอุตรดิตถ์
พัฒนาคุณภาพ
1. กลุ่มถ่านอัดแท่งบ้านดอยชมภูตำบลโปร่งแพร่ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย
2. กลุ่มแม่สายคาร์บอนซ์ตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
3. กลุ่มถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพด ตำบลหนองกะท้าว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
เจ้าของผลงาน : กลุ่มวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี
หน่วยงาน : สำนักเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ
โทรศัพท์ : 0 2201 7107
โทรสาร : 0 2201 7102
e-mail    : urawan@dss.go.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น