วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

ERP คืออะไร


ERP

ERP คืออะไรERP ย่อมาจาก Enterprise Resource Planning
ERP คือ การวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กรโดยรวม เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุดของทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร คือระบบที่ใช้ในการจัดการและวางแผนการใช้ทรัพยากรต่างๆ ขององค์กร โดยเป็นระบบที่เชื่อมโยงระบบงานต่างๆ ขององค์กรเข้าด้วยกัน เช่น หากเป็น ERP ของบริษัทจะหมายรวมตั้งแต่ระบบงานทางด้านบัญชี และการเงิน ระบบงานทรัพยากรบุคคล ระบบบริหารการผลิต รวมถึงระบบการกระจายสินค้า เพื่อช่วยให้การวางแผนและบริหารทรัพยากรของบริษัทนั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยลดเวลาและขั้นตอน (Algorithm ) การทำงานได้อีกด้วย

ปัจจุบัน ERP มีการพัฒนาไปสู่รูปแบบโปรแกรมสำเร็จรูป ERP ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์มาตรฐาน สามารถได้รับการติดตั้งและใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย ERP sotfware มีหน้าที่รวบรวมส่วนประกอบทางธุรกิจต่างๆ เช่น งานวางแผน (Planning) งานผลิต (Production) งานขาย (Sale) งานทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource) และงานบัญชีการเงิน (Accounting/Finance) แล้วเชื่อมโยงส่วนงานต่างๆเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้มีการใช้ข้อมูลร่วมกันจากฐานข้อมูลเดียวกัน มีการใช้กระบวนการที่เป็นมาตรฐานร่วมกัน (Common Processes) ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการทำงานกระบวนการทางธุรกิจขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด  ข้อดีของการรวมข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน เพื่อให้ข้อมูลเดียวกันสามารถใช้ร่วมกันทั้งองค์กรได้

ERP sotfware คือ ซอฟต์แวร์ที่มีการรวบรวม หรือผนวกฟังก์ชันงานทั้งหมดในองค์กร หรือมีการเชื่อมโยงในส่วนของโมดูลทั้งหมดเข้าด้วยกัน โดยมีการทำงานในลักษณะแบบเรียลไทม์ และ ERP sotfware จะได้รับการออกแบบมาบนพื้นฐานของวิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรมนั้นๆ (Best Practice) ก็คือมีการกำหนดในส่วนของกระบวนการทางธุรกิจ ที่มีการทดสอบ และสำรวจมาแล้วว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรมนั้นๆ ไว้ในตัวของ ERP sotfware โดยที่ ERP sotfware จะสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับลักษณะการดำเนินงานขององค์กรนั้น

แผนแม่บทกับงานไอที


แผนแม่บทกับงานไอที



การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการดำเนินการจัดการในหน่วยงานกลายเป็นสิ่ง จำเป็นสำหรับการพัฒนาทั้งด้านคุณภาพและปริมาณเพื่อการสนองต่อเป้าหมายของหน่วยงานนั้น ๆ ดังนั้นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในหน่วยงานขนาดเล็กจนถึงองค์กรระดับประเทศจึงไม่ใช่เรื่องที่แปลกการที่หน่วยงานต่าง ๆ จะมีระบบสารสนเทศไม่ใช่เรื่องยาก (หากมีงบประมาณ) แต่การบริหารระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ประสบความสำเร็จไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศมีความหลากหลายและเปลี่ยนแปลงรวดเร็วตามกระแสของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ดังนั้นการวางแผนการดำเนินงานด้านระบบสารสนเทศจึงต้องคำนึถึงเรื่องราวต่าง ๆจำนวน มากและจำเป็นต้องมีแผนการหรือนโยบายดำเนินการต่าง ๆ จำนวนมกา ในบทความนี้เป็นเพียงการแนะนำให้รู้จักกับแผนแม่บทสำหรับเทคโนโลยี สารสนเทศอย่างง่าย ๆ เท่านั้น แผนแม่บทกับงานไอที 
คำว่า "แผนแม่บท "มีความหมายในตัวคือ เป็นแผนการหรือนโยบายหลักที่ใช้เป็นต้นแบบซึ่งแผนการย่อยต่าง ๆ ที่มี อยู่จะต้องมีความสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับแผนแม่บทดังจะเห็นแผนแม่บทในเรื่องต่าง ๆ มากมาย
ในปัจจุบันได้มีการกำหนดแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อที่จะได้เป็นกรอบและนโยบายในการดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ เช่น จัดหาและนำเทคโนโลยีฮาร์แวร์ ซอฟต์แวร์ อุปกรณ์รอบข้าง และรบบเครือข่ายโทรคมนาคมมาใช้ให้เหมาะสมและลดความซ้ำซ้อน ทำไมต้องมีแผนแม่บท 
การจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยให้มีภาพรวมของระบบสารสนเทศที่สนับสนุนและสอดคล้องกับแผนกและการดำเนินงานตามภารกิจหลักของหน่วยงาน และเป็นกรอบหรือแนวทางในการดำเนินการ รวมถึงการพิจารณาต้นทุน การดำเนินการของหน่วยงานต่าง ๆ ด้วย เนื่องจากแผนแม่บทไอทีมีการวางแผนการใช้ทรัพยากรเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งด้านอุปกรณ์ งบประมาณและบุคลากร แผนแม่บทไอทีจะช่วยให้มีการใช้สารสนเทศให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการต่าง ๆ ภายในหน่วยงานอย่างเหมาะสมและลดความซ้ำซ้อน ซึ่งเป็นส่วนก่อให้เกิดความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากการขาดแผนการดำเนินงานที่ดี หน่วยงานที่ทำแผนแม่บทไอทีมักมีวัตถุประสงค์ใกล้เคียงกัน ดังนี้
  1. เพื่อแก้ไขปัญหา อุปสรรค์ ที่เกิดขึ้นในระบบที่ใช้งาน หรือปรับปรุงระบบงานเดิมที่ใช้งานอยู่ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
  2. เพื่อให้การออกแบบสำหรับระบบใหม่สอดคล้องกับความต้องการอย่างแท้จริง โดยให้สามารถนำระบสารสนเทศไปช่วยในการปฏิบัติงานได้จริงในส่วนนี้จะต้องคำนึงถึงความเกี่ยวข้องในเรื่องของการกำหนดสถาปัตยกรรมในระบบต่าง ๆ เช่น
  3. การออกแบบสถาปัตยกรรมระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อระบุความต้องการทรัพยากรต่าง ๆ
  4. การออกแบบโครงสร้างระบบงานและสารสนเทศ
  5. การออกแบบโครงสร้างระบบงานเครือข่าย ทั้งภายในหรือเครือข่ายภายนอก
  6. การจัดลำดับความสำคัญของระบบงานย่อยต่าง ๆ
  7. การฝึกอบรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาบุคลากร
  8. การประเมินผลกระทบและความสำเร็จของระบบงานเชิงคุณภาพ
  9. เพื่อวิเคราะห์และประเมินค่าใช้จ่ายระบบงานประกอบด้วยการวางแผนสำหรับค่าใช้จ่ายในการจัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์ ซอฟต์แวร์ ทั้งปรับเปลี่ยนระบบเดิมและสร้างระบบใหม่หากจำเป็น การเชื่อมโยงสื่อสารข้อมูล ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์ การพัฒนาระบบงาน การผึกอบรม ค่าใช้จ่ายในการจ้างที่ปรึกษาควบคุมดูแล การดำเนินงานของโครงการ ค่าใช้จ่ายในการจัดเตรียมข้อมูล และวิเคราะห์ช่วงเวลาการทำงานว่าตรงตามกำหนดหรือไม่เพื่อที่สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขได้








  • เพื่อช่วยในการตัดสินใจว่าจะนำระบบสารสนเทศมาใช้กับหน่วยงานหรือไม่ หรือนำมาใช้ในรูปแบบใด และลำดับขั้นตอนในการดำเนินการจะเป็นอย่างไร

  • ขั้นตอนการสร้างแผนแม่บท หน่วยงานที่ต้องการสร้างแผนแม่บททางสารสนเทศสำหรับหน่วยงานตนเองสามารถทำโดยการว่าจ้างบุคคลหรือ บริษัทด้านไอทีเป็นผู้วางแผนแม่บทให้(IT Outsourcing)หรือดำเนินการด้วยบุคลากรภายในหน่วยงานซึ่งทั้งสองวิธีก็มีทั้งข้อดีและ ข้อเสียทีแตกต่างกัน สำหรับแนวทางหลักในการดำเนิดการสร้งแผนแม่บทจะประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้
    1. การศึกษาระบบงานเดิมและความต้องการของหน่วยงานตลอดจนนโยบายของหน่วย โดยศึกษาจากระบบและบุคลากรในหน่วยงาน
    2. การวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ ในระบบเดิมที่ใช้โดยการวิเคราะห์สภาพการจัดระบบงานสารสนเทศของหน่วยงานในเรื่องของความ พร้อมด้านอุปกรณ์ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ อุปกรณ์พ่วงต่อ และระบบเครือข่าย การสื่อสารโทรคมนาคม รวมถึงบุคลากร โดยพิจารณาทั้ง ปริมาณ คุณภาพ และข้อจำกัดต่า ๆ โดยการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา


  • ออกแบบและเลือกวิธีการดำเนินการระบบใหม่เพื่อแก้ปัญหาที่มีอยู่ในระบบเดิม
  • แผนการดำเนินงานตามวิธีที่เลือกในเรื่องของการลงทุนและช่วงเวลาที่ใช้และทบทวนใหม่ (เนื่องจากแผนแม่บทไอทีจะมีความเกี่ยวเนื่องกับเรื่องต่าง ๆ มากมาย ทำให้ต้องมีช่วงเวลาในการปรับแผนบางส่วน) เพื่อให้การใช้ระบบสารสนเทศมีความเหมาะสมและตรงตามความต้องการมากที่สุด ตลอดจนสามารถรองรับงาน และมาตรฐานในอนาคตได้ เช่น การกำหนดช่วงเวลาในการเตรียมการจัดหา และกำหนดคุณสมบัติของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ อุปกรณ์พ่วงต่อ ซอฟต์แวร์ การจัดการข้อมูล และระบบเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคม (เนื่องจากเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็วทำให้ช่วงเวลาในการจัดการที่ต่างกันนั้นจะได้อุปกรณ์มีคุณสมบัติแตกต่าง กัน แต่ต้องใช้งานร่วมกันได้) และกำหนดช่วงเวลาที่จะพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงระบบซึ่งอาจใช้เครื่องมือย่างเช่น Milestones , Critical Path Method(CPM) หรือ Gantt Chart ช่วยในการดำเนินการได้




  • แผนการพัฒนาบุคลากรเพื่อการใช้งานระบบให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตั้งแต่ให้ผู้บริหารระดับสูงเห็นความสำคัญ และบุคลากรระดับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องสามารถใช้งานไอที เช่น การจัดฝึกอบรม
  • กำหนดกฎต่าง ๆ สำหรับระบบสารสนเทศ เพื่อให้มีความเสถียร และสามารถใช้งานได้อย่างปกติ เช่น กำหนดกฎเกี่ยวกับเรื่องระบบความปลอดภัยข้อมูลกฎเกี่ยวกับการใช้งานและอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ไม่ควรให้ผู้ใช้รู้สึกว่าถูกบีบหรืออึดอัดในการใช้งาน มิฉะนั้นแล้วระบบสารสนเทศจะไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้




  • สรุปและพยากรณ์ผลการดำเนินการทั้งด้านการลงทุนและสิ่งที่จะได้รับหลังการดำเนินการ เพื่อให้ผู้บริหารตัดสินใจว่าคุ้มกับการลงทุนหรือไม่และจะมีการดำเนินการอย่างไรต่อไป


  • สรุป แผนแม่บทไอทีเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญในการดำเนินการทางด้านสารสนเทศของหน่วยงานต่าง ๆ และแผนแม่บทนี้จะบรรลุวัตถุประสงค์ก็ต่อเมื่อบุคลากรที่ใช้เห็นความสำคัญและสามารถใช้งานได้จริง รวมถึงผลลัพธ์ทั้งเชิงปริมาณ และคุณภาพที่ได้นั้นต้องเพิ่มขึ้นคุ้มค่ากับการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นงานบริการหรือการค้าก็ตาม

    วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

    แบบฝึกหัดบทที่ 14

    แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 14
    1. จงยกตัวอย่างการปรับตัวขององค์การในยุคสารสนเทศ
                    1. องค์การขนาดใหญ่ปรับตัวเป็นกลุ่มองค์การขนาดย่อม เพื่อความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน การประสานงาน การแข่งขัน และรองรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
                 2.มีการสนับสนุนการ ปฏิบัติงานร่วมกันเป็นกลุ่ม โดยที่ผู้จัดการหรือหัวหน้างานจะเปลี่ยนหน้าที่จากผู้สั่งการมาเป็นผู้ฝึก สอน ผู้ประสานงาน และอำนวยความสะดวกในการทำงาน
                 3.ระบบการเข้าทำงานแบบ ยืดหยุ่นจะถูกนำมาใช้ แรงงานบางส่วนจะสามารถทำงานอยู่ที่บ้าน ขณะที่หลายฝ่ายสามารถเลือกเวลาเข้าทำงานและเลือกงานที่เหมาะสมได้เอง

    2. เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบต่อการปรับโครงสร้างหรือการรื้อปรับระบบขององค์การอย่างไร
                    IT ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างองค์กร ผู้ที่มีอำนาจ ตลอดจนรายละเอียดของงาน เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการดำเนินงานและธุรกิจขององค์กร หลาย ๆ องค์กรมีการปรับโครงสร้างเพื่อลดระดับชั้นขององค์กรลง เพื่อให้การตัดสินใจและการบริหารงานมีความรวดเร็วขึ้น

    3. ผู้บริหารสมควรจะเตรียมความพร้อมในการนำองค์การเข้าสู่ยุคสารสนเทศอย่างไร
                    1. ติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น ตลอดจนทำความเข้าใจบทบาท
                2. พิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและกำลังเกิดขึ้นในแต่ละหน่วยงาน โดยเฉพาะความต้องการทางด้านข้อมูลข่าวสาร เพื่อหาแนวโน้มความต้องการ จัดทำแผน และแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีขององค์การ
                3. เตรียมความพร้อมด้านบุคลากรและงบประมาณ เพื่อรองรับต่อการนำเทคโนโลยีมาใช้ เนื่องจากการจัดการเทคโนโลยีไม่สามารถใช้เงินซื้อหามาเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีความเข้าใจในศักยภาพและความพร้อมของบุคลากรประกอบด้วย

    4. เทคโนโลยีที่มีผลต้องการดำเนินงานขององค์การมีอะไรบ้าง
                    - ประโยชน์
                   - ความ ยืดหยุ่น
                   - ความ สามารถในการแข่งขัน
                   - รายได้
                   - ค่า ใช้จ่าย
                  - คุณภาพ
                   - โอกาส

    5. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีผลต่อการดำเนินงานขององค์การอย่างไร
                    1. การปรับปรุงรูปแบบการทำงานขององค์การ เทคโนโลยีหลายอย่างได้ถูกนำเข้ามาใช้ภายในองค์การ และส่งผลให้กระบวนการในการทำงานได้เปลี่ยนรูปแบบไป
                2. การสนับสนุนการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ โดย เทคโนโลยีสารสนเทศผลิตสารสนเทศที่สำคัญให้แก่ผู้บริหารที่จะใช้เป็นแนวทางใน การตัดสินใจและการสร้างความได้เปรียบเหนือกว่าคู่แข่งขัน
                3. เครื่องมือในการทำงาน เทคโนโลยีถูกนำเข้ามาใช้ภายในองค์การ เพื่อให้การทำงานคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ เรา จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถที่จะนำมาประยุกต์ในหลาย ๆ ด้าน โดยเทคโนโลยีจะช่วยเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงคุณภาพของการทำงานให้ดีขึ้น
                4. การเพิ่มผลผลิตของงานโดยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือ PC ถูก พัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตลอดจนการใช้งานสะดวกและไม่ซับซ้อนเหมือนอย่างคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
                5. เทคโนโลยี ในการติดต่อสื่อสาร ในช่วงแรกของการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานทางธุรกิจคอมพิวเตอร์จะถูกใช้เป็น เพียงอุปกรณ์หลักที่ช่วยในการเก็บและคำนวณข้อมูลต่าง ๆ เท่านั้น ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนาให้มีศักยภาพจากทั้งภายในองค์การหรือภายนอก องค์การ โดยไม่จำกัดขอบเขตว่าผู้ใช้จะอยู่ห่างไกลกันเท่าใด

    6. เทคโนโลยี RISC มีผลต่อพัฒนาการของคอมพิวเตอร์ในอนาคตอย่างไร
                    คอมพิวเตอร์ได้พัฒนาไปจากยุคแรกที่เครื่องมีขนาดใหญ่ทำงานได้ช้า ความสามารถต่ำ และใช้พลังงานสูง เป็นการใช้เทคโนโลยีวงจรรวมขนาด ในการผลิตไมโครโปรเซสเซอร์ ทำ ให้ประสิทธิภาพของส่วนประมวลผลของเครื่องพัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาหน่วยความจำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในปัจจุบัน โดยที่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในขณะนี้มีความสามารถเท่าเทียมหรือมากกว่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ตลอดจนการนำคอมพิวเตอร์ชนิดลดชุดคำสั่ง หรือ RISC มาใช้ในการออกแบบหน่วยประเมินผล ทำ ให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้เร็วขึ้นโดยใช้คำสั่งพื้นฐานง่าย ๆ

    7. จงอธิบายความหมายและประโยชน์ในการใช้งานของระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
                    ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geographic Information System : GIS คือ กระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่
                    ประโยชน์ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
            1. การอนุรักษ์ และจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management, Conservation) การจัดการทางพืชและสัตว์ในดิน (Flora and Fauna) สัตว์ป่า (Wild Life) อุทยานแห่งชาติ (National Park) การควบคุมและติดตามมลภาวะ (Pollution Control and Monitoring) และแบบจำลองด้านนิเวศวิทยา (Ecological Modeling)
            2. การจัดการด้านทรัพยากร/การเกษตร (Resources Management / Agriculture) การจัดการระบบชลประทาน การพัฒนาและจัดการที่ดินเพื่อการเกษตร การอนุรักษ์ดินและน้ำ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ และการทำไม้ ฯ
            3. การวางแผนด้านสาธารณะภัย (Disaster Planning) การบรรเทาสาธารณะภัย การติดตามการปนเปื้อนของสารพิษ และแบบจำลองผลกระทบอุทกภัย (Modeling Flood Impacts)
            4. ด้านผังเมือง (Urban GIS) การวางแผนผังเมือง การวิเคราะห์ด้านอาชญากรรม ที่ดินและภาษีที่ดิน ระบบการระบายน้ำเสีย โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัย

    8. เหตุใดผู้บริหารระดับสูงจึงเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การ
                    ผู้ บริหารต้องคำนึงถึงความสอดคล้องระหว่างการดำเนินธุรกิจ เทคโนโลยี และการตัดสินใจที่ต้องกระทำอย่างสอดคล้องกัน ปัจจุบันผู้บริหารต้องประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศและการตัดสินใจทางธุรกิจของ องค์การอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดวิสัยทัศน์และสร้างโอกาสในการประยุกต์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ องค์การ ผู้บริหารต้องสามารถจัดการกับเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ

    9. ปัจจุบันคนไทยมีความพร้อมในการก้าวสู่สังคมสารสนเทศเพียงไร โดยเฉพาะความรู้และความเข้าใจในศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศ
                    สังคมส่วนใหญ่เกือบทุกสังคมในโลก ไม่ว่าจะมีเชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม และนับถือสังคม เปิด ที่ประชาชนมีความสนใจและมีการบริโภคข่าวสารในอัตราสูง และในปัจจุบันสื่อสารมวลชนก็ยังมีเสรีภาพที่ค่อนข้างจะเต็มเปี่ยม เมื่อเทียบกับอีกหลาย ๆ ประเทศในภูมิภาคใกล้เคียงกับไทย ที่จัดว่าเป็นประเทศประชาธิปไตย แต่สังคมเปิดของไทยจะยังสมบูรณ์เต็มที่ไม่ได้ หากกลไกของรัฐ ยังไม่สามารถจะขจัดอุปสรรคที่ยังมีเหลืออยู่ให้หมดสิ้นไป เพื่อให้มีการเผยแพร่ข้อมูลทั่วไปของราชการแก่สาธารณชนได้อย่างเปิดเผยและ เสรีเต็มที่กว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้
    10. จงยกตัวอย่างปัญหาด้านจริยธรรมหรือความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
                    1.ความเป็นส่วนตัว (Privacy) เป็นความเกี่ยวข้องกับการรวบรวมและใช้ข้อมูลสำหรับส่วนบุคคล และ เก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์
                2.ความถูกต้อง (Accuracy) การ ทำงานในองค์กรนั้นขึ้นอยู่กับข้อมูลข่าวสารเป็นสำคัญ การเก็บฐานข้อมูลไว้ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นอาจมีข้อผิดพลาดได้ อาจจะเก็บรวบรวมข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือมีการแอบเข้ามาแก้ไขข้อมูลที่ถูกต้องก็ได้
                3.ความเป็นเจ้าของ(Property) เนื่อง จากในปัจจุบันข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สามารถแพร่กระจายไปได้ในรูปของสื่อสารแบบ ต่าง ๆ สิทธิ์ในการเป็นเจ้าของข้อมูลและโปรแกรมอย่างถูกต้องนั้นยังเป็นคำถามที่ยา ต่อการตอบในเชิงจริยธรรมเป็นอย่างยิ่ง กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาได้มีผลคุ้มครองต่อความถูกต้องของวิชาชีพและนัก เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
                4.การเข้าถึงข้อมูล(Access) ธรรมชาติ ของผู้ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลหรือใช้ข้อมูลนั้นจะพิจารณาถึงความสามารถที่ใช้ คือเอาข้อมูลจากฐานข้อมูลขององค์กรมาใช้ได้อย่างเหมาะสมซึ่งข้อมูลจะถูกจัด ลำดับความสำคัญไว้ในระดับที่แตกต่างกันไปข้อมูล
     

    แบบฝึกหัดบทที่ 13

    แบบฝึกหัดบทที่  13

    1. จงอธิบายความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
    ตอบ  พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีคอมเมิร์ซ เป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจหรือองค์การ ในเรื่องของความทันสมัย และเป็นโอกาสที่ทำให้สินค้าหรือบริการเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก เพราะสามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้เร็วและเสียเวลาน้อย พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นเครื่องมือและกลยุทธ์หนึ่งที่สำคัญที่จะช่วยให้องค์การมีความได้เปรียบคู่แข่ง

    2.  เพราะเหตุใดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นอีกเครื่องมือและกลยุทธ์หนึ่งที่สำคัญ ในการช่วยให้องค์การมีความได้เปรียบคู่แข่ง
    ตอบ  เป็น องค์ประกอบพื้นฐานสำคัญอย่างหนึ่งในการดำเนินธุรกิจ และเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริม และเพิ่มช่องทางให้กับธุรกิจ ซึ่งแฝงไปด้วยทั้งทางตรงและทางอ้อมสำหรับผู้ประกอบการ

    3.  ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถจำแนกได้กี่ประเภท อะไรบ้าง
    ตอบ    เราสามารถแบ่งประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  4 ประเภท คือ   
                    1.  ธุรกิจกับธุรกิจ
                    2.  ธุรกิจกับผู้บริโภค
                    3.  ธุรกิจกับรัฐบาล
                    4.  ผู้บริโภคกับผู้บริโภค

    4.  พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีข้อแตกต่างไปจากการดำเนินธุรกิจทั่วไปอย่างไร
    ตอบ       1.  มีการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล
                    2.  มีการตอบสนองเพื่อการแข่งขัน
                    3.  การให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
                    4.  การควบคุมและปฏิสัมพันธ์ได้ด้วยตนเอง
                    5.  การสร้างร้านค้าเสมือนจริง
                    6.  การติดตามพฤติกรรมของผู้บริโภค
                    7. โครงข่ายเศรษฐกิจ
                    8.  การส่งเสริมภาพลักษณ์อันดี
      

    5.  หลักการตลาดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
    ตอบ  หลักการตลาด 6Ps ประกอบด้วย
                    1. ผลิตภัณฑ์ สินค้าหรือผลิตภัณฑ์จะต้องตรงตามความต้องการของลูกค้าทั้งในด้านคุณภาพ รูปแบบ สีสัน และประโยชน์ใช้สอย
                    2. ราคา การตั้งราคาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เป็นสิ่งสำคัญในการดึงดูดใจลูกค้า
                    3. ช่องทางการจัดจำหน่าย การหาทำเลการค้าที่ดีเป็นองค์ประกอบที่สามารถตัดสินได้ว่าธุรกิจจะรุ่งเรืองหรือไม่ แต่เว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การหาทำเลเทียบได้กับการตั้งชื่อร้าน
                    4. การส่งเสริมการขาย กระบวนการที่จะทำให้ขายสินค้าได้มาก ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อลูกค้า หรือแม้แต่การโฆษณาชวนเชื่อด้วยการลด แลก แจก และแถมสินค้า
                    5. การรักษาความเป็นส่วนตัว คือการเก็บข้อมูลความเป็นส่วนตัวของลูกค้า เช่น ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขบัตรเครดิต หรืออีเมล์
                    6. การให้บริการแบบเจาะจง        เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตทำให้เว็บไซต์สามารถเก็บข้อมูลของลูกค้าแต่ละคนได้ และสามารถให้บริการแบบเจาะจงกับลูกค้าแต่ละรายได้ สามารถเข้าใจพฤติกรรมหรือความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ทำให้สามารถนำเสนอบริการต่างๆ ที่ตรงกับความต้องการแบบเจาะจงบุคคล

    6.   จงยกตัวอย่างข้อดีของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
    ตอบ       ข้อดีของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
                    1. สามารถเข้าถึงลูกค้าได้เป็นจำนวนมากจากทั่วทุกมุมโลก
                    2. สามารถจัดหารสินค้าและบริการจากผู้จำหน่ายแหล่งต่างๆ
                    3. สามารถปรับลดปริมาณสินค้าคงคลังได้อย่างเหมาะสม
                    4. สามารถเจรจากลุ่มลูกค้าที่เป็นเป้าหมายได้โดยง่าย สะดวก และรวดเร็ว
                    5. สามารถประหยัดเวลาและต้นทุนในการรับส่งสินค้ากับบริการ

    7.  จงยกตัวอย่างข้อเสียของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
    ตอบ        ข้อเสียของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
                    1. มาตรฐานด้านคุณภาพ ความปลอดภัย และระดับความน่าเชื่อถือต่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไม่มีความแน่นอน
                    2. ช่องทางในการติดต่อสื่อสารอาจยังไม่เหมาะสม
                    3. โปรแกรมหรือซอฟแวร์แบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนบ่อย
                    4. ต้นทุนในการสร้างและพัฒนาเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ค่อนข้างสูง
                    5. ผู้ขายและผู้ซื้อยังมีความกังวลด้านความปลอดภัย
                    6. ลูกค้าบางส่วนยังชอบวิธีการซื้อสินค้าและบริการในลักษณะแบบเห็นหน้าตากัน

    8.  ปัญหาที่พบในการดำเนินงานของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย มีอะไรบ้าง
    ตอบ       1.  ปัญหาในเรื่องของความพร้อมของผู้ประกอบการ
                    2.  ปัญหาในเรื่องของบุคลากรยังไม่มีความพร้อม
                    3.  ปัญหาในเรื่องของตลาด
                    4.  ขาดความเชื่อมั่นในผลตอบแทนที่จะได้รับ
                    5.  ปัญหาในเรื่องของความเชื่อมันในระบบรักษาความปลอดภัย
                    6.  ค่าบริการใช้อินเตอร์เน็ตและค่าบริการสื่อสารยังมีราคาแพ
     

    แบบฝึกหัดบทที่ 12

    แบบฝึกหัดบทที่ 12

    1.  เหตุใดองค์การส่วนใหญ่จึงเริ่มพัฒนาระบบสารสนเทศจากความต้องการ การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน มากกว่าความต้องการสร้างความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์
    ตอบ  เทคโนโลยีสารสนเทศที่เคยถูกนำมาใช้เสริมสร้างประสิทธิภาพการดำเนินงานของแต่ละกิจกรรมตามหน้าที่ทางธุรกิจ เช่น การเงิน การตลาด การดำเนินงานและทรัพยากรบุคคล ได้รับความสนใจนำมาใช้ประกอบการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาและธำรงรักษาความสามารถในการแข่งขันขององค์การ การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจ และประสบการณ์ในการกำหนดแนวทางการปฏิบัติที่สอดรับกัน


    2.  ความได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitive Advantage) คืออะไร และเกี่ยวข้องกับกลยุทธ์ธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไร
    ตอบ  การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสร้างและธำรงรักษาความได้เปรียบเสียเปรียบในการแข่งขันขององค์การ ตลอดจนความสำคัญและบทบาทของผู้บริหาร ที่มีต่อการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในเชิงกลยุทธ์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและตระหนักถึงศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่การดำเนินงานขององค์การ


    3.  องค์การจะสามารถธำรงรักษาความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยเฉพาะด้านสารสนเทศอย่างไร
    ตอบ  เทคโนโลยีสารสนเทศเริ่มมีบทบาทสำคัญในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจ จนได้รับการยอมรับว่า เป็นทรัพยากรที่สำคัญเชิงกลยุทธ์ขององค์การ ถ้าธุรกิจสามารถเป็นผู้นำในการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ในการทำงานแล้ว นอกจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์แล้ว ธุรกิจยังสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในความรู้สึกของผู้บริโภค


    4.  จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างระบบสารสนเทศ กลยุทธ์ และโครงสร้างขององค์การ
    ตอบ  การดำเนินงานในระดับนี้ต้องอาศัยการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง โดยผู้บริหารต้องสนับสนุนให้องค์การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ในการวางแผน โดยเฉพาะในระดับกลยุทธ์ขององค์การ เพื่อให้การดำเนินงานสอดประสานกันทั้งองค์การ การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในระดับนี้ เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการสร้างความกลมกลืนระหว่างเทคโนโลยีสารสนเทศ องค์การ และกลยุทธ์


    5.  ท่านมีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเปรียบเทียบความแตกต่างในประเทศไทยและสหรัฐฯ
    ตอบ  ผู้บริหารเป็นบุคคลสำคัญที่ทำให้องค์การประสบความก้าวหน้าหรือล้อมเหลว ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศจะแสดงบทบาทสำคัญ นอกเหนือจากการสนับสนุนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ โดยเทคโนโลยีสารสนเทศยังมีส่วนในการกำหนดกลยุทธ์ขององค์การ ดังนั้นถ้าผู้บริหารสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในการทำงานอย่างเหมาะสมแล้ว นอกจากจะสามารถสร้างผลงานให้แก่ตนเองแล้ว ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพแก่องค์การด้วย


    6.  ผู้บริหารสมควรทำอย่างไร เพื่อให้ทราบความต้องการด้านสารสนเทศขององค์การในอีก 5 ปีข้างหน้า
    ตอบ  องค์การที่จะอยู่รอดและมีพัฒนาการต้องสามารถยู่ปรับตัวและจัดการกับเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม เทคโนโลยีสารสนเทศที่จะมีผลต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคตเพื่อให้ผู้บริหารในฐานะหัวใจสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การได้ศึกษา แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศอาจทำให้เทคโนโลยีที่กล่าวถึงในที่นี้ล้าสมัยได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ผู้บริหารที่สนใจจะต้องศึกษาติดตามความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา


    7. จงอธิบายบทบาทของผู้บริหารระดับสูง  ที่มีต่อการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ขององค์การ
    ตอบ   บริหารระบุความต้องการ สารสนเทศ ได้ชัดเจน และนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
             1. ผู้บริหารต้องหาแนวทางในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือบริการ เช่น วิศวกรรมคู่ขนาน (Concurrent Engineering) โดยการ ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ (Computer Aided Design , CAD) ในการออกแบบ พัฒนาและตรวจสอบผลิตภัณฑ์ในเวลาเดียวกัน เป็นต้น เพื่อให้ผลิตภัณฑ์หรือบริการมีคุณภาพ มีความทันสมัยและสอด คล้องความต้องการของลูกค้า ตลอดจนสนับสนุนการจัดโครงสร้างองค์การ ให้สามารถ ใช้ทรัพยากร ร่วมกัน และสอดคล้องกัน
             2. ผู้บริหารต้องส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการ ต่อเชื่อม ระหว่าง หน่วยงาน ทั้ง ภายในและภายนอกองค์การ เพื่อให้การสื่อสาราข้อมูลมีความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และทั่วถึง ซึ่งจะทำให้ บุคคลเกิดความเข้าใจและสามารถปฏิบัติงาน ร่วมกัน อย่างมี ประสิทธิภาพและเกิดความ รู้สึกที่ดีต่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจาก นี้ผู้บริหาร
             3.ผู้บริหารต้องวางแผน ความสำเร็จของการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินงานขององค์การธุรกิจ เกิดจากการพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐาน ของเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Infrastructure) ที่สอด คล้องกับสถานการณ์และกลยุทธ์ขององค์การ


    8. เหตุใดองค์การจึงต้องกำหนดความต้องการก่อนและหลังด้านสารสนเทศ?
    ตอบ   เพื่อให้ทราบว่าองค์การต้องการอะไร เป้าหมายขององค์การเป็นอย่างไร เพื่อที่จะวางแผนและปฏิบัติงานให้ตรงตามเป้าหมาย



    9. เราสามารถประเมินคุณภาพของการดำเนินการด้านสารสนเทศในแต่ละองค์การได้อย่างไร?
    ตอบ       - พิจารณาว่าเป็นเรื่องที่ตรงกับความต้องการของเราอย่างแท้จริงหรือไม่
                      - พิจารณาว่าเป็นสารสนเทศที่น่าเชื่อถือหรือไม่
                      -  พิจารณาว่าเนื้อหาของสารสนเทศอยู่ในระดับใด


    10. เหตุใดธุรกิจจึงต้องจัดตั้งคณะกรรมการด้านสารสนเทศขึ้น เพื่อทำการตัดสินใจในงานสำคัญด้านสารสนเทศขององค์การ?
    ตอบ    เพราะจะได้บุคลากรที่มีความรู้ในงานเฉพาะด้าน และการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

    แบบฝึกหัดบทที่ 11

    แบบฝึกหัดบทที่  11
    1.  เหตุใดผู้บริหารระดับสูงสมควรต้องมีความเข้าใจในเทคโนโลยีสารสนเทศ
    ตอบ  เพื่อการตัดสินใจที่ต้องกระทำอย่างสอดคล้องกัน ปัจจุบันผู้บริหารต้องประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ และการตัดสินใจทางธุรกิจขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพ

    2.  จงอธิบายขั้นตอนในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในองค์การ
    ตอบ        1.  กำหนดกลยุทธ์องค์การที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
                    2.  กำหนดแผนการสารสนทศระดับองค์การและการดำเนินงาน กำหนดโครงสร้างหน่วยงานสารสนเทศ
                    3.  พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศขององค์การ เช่น อุปกรณ์ ชุดคำสั่ง ระบบสื่อสารและจัดการข้อมูล และระบบสำนักงานอัตโนมัติ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกำหนดศักยภาพ และความยืดหยุ่นในการปรับตัวของงานสารสนเทศในองค์การ
                    4.   กำหนดรายละเอียดการดำเนินงานภายในองค์การ พร้อมทั้งพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความพร้อมต่อการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิภาพผลสูงสุดแก่องค์การ

    3.  ระบบสารสนเทศด้านบัญชีมีลักษณะอย่างไร และสัมพันธ์กับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการอย่างไร
    ตอบ  รวบรวมจัดระบบและนำเสนอสารสนเทศทางการบัญชีที่ช่วยในการตัดสินใจแก่ผู้ใช้ สารสนเทศที่สามารถวัดค่าได้หรืการประมวลผลเชิงปริมาณมากกว่าการแก้ปัญหาเชิง คุณภาพ โดยระบบสารสนทศด้าน การบัญชีจะมีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วนคือ
    1.  ระบบการบัญชีการเงิน (Financial Accounting System)
    2.  ระบบบัญชีบริหาร (Managerial Accounting System)

    4.  ระบบสารสนเทศด้านการเงินจะมีหน้าที่อย่างไรบ้าง
    ตอบ        1.  การพยากรณ์ (Forecast) การศึกษา วิเคราะห์ การคาดการณ์ การกำหนดทางเลือกและการวางแผนทางด้านการเงินของธุรกิจ
                    2.  การจัดการด้านการเงิน (Financial Management) เกี่ยวข้องกับเรื่องการบริหารเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น รายรับรายจ่าย
                    3.  การควบคุมทาการเงิน (Financial control) เพื่อติดตามผล ตรวจสอบ และประเมินความเหมาะสมในการดำเนินงานว่าเป็นไปตามแผนที่กำหนดหรือไม่ โดยที่การตรวจสอบและการควบคุมทางการเงินของ ธุรกิจสามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภทดังต่อไปนี้
                    1.  การควบคุมภายใน (Internal Control)
                    2.  การควบคุมภายนอก (External Control)

    5.   ระบบย่อยของระบบสสารสนเทศด้านการตลาดมีอะไรบ้าง
    ตอบ        1.  ระบบสารสนเทศสำหรับสนับสนุนการขาย
                    2.  ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยตลาด
                    3.  ระบบสารสนเทศสำหรับการส่งเสริมการขาย
                    4.  ระบบสารสนเทศสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ
                    5.  ระบบสารสนเทศสำหรับพยากรณ์การขาย
                    6.  ระบบสารสนเทศสำหรับการวางแผนกำไร
                    7.  ระบบสารสนเทศสำหรับการกำหนดราคา
                    8.  ระบบสารสนเทศสำหรับการควบคุมค่าใช้จ่าย

    6.  เราสามารถหาข้อมูลเพื่อประกอบการวางแผนการผลิตและการดำเนินงานขององค์การได้จากแหล่งใดบ้าง จงอธิบายอย่างละเอียด
    ตอบ        1.  การปฏิบัติงาน (Operations) เป็น ข้อมูลที่แสดงถึงยอดขายและการดำเนินงานด้านการตลาดตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่าน มา โดยข้อมูลการปฏิบัติงานจะเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานที่ช่วย ในการตรวจสอบ ควบคุม และวางแผนแนวทางปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นในอนาคต
                    2.  การวิจัยตลาด (Marketing Research) เป็นข้อมูลที่ได้จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาด โดยเฉพาะพฤติกรรมและความสัมพันธ์ของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์หรืบริการของ ธุรกิจ
                    3.  คู่แข่ง (Competitor) คำกล่าวที่ว่ารู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะทั้งร้อยครั้งแสดง ความสำคัญที่ธุรกิจต้องมีความเข้าใจในคู่แข่งขันทั้งด้านจำนวนและศักยภาพ โดยข้อมูลจากการดำเนินงานของคู่แข่งขัน ช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนการตลาดได้อย่างเหมาะสม
                    4.  กลยุทธ์องค์การ (Corporate Strategy) เป็น ข้อมูลสำคัญทางการตลาด เนื่องจากกลยุทธ์จะเป็นเครื่องกำหนดแนวทางปฏิบัติของธุรกิจ และเป็นฐานในการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดขององค์การ
                    5.  ข้อมูลจากภายนอก (External Data) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และเทคโนโลยีซึ่งจะส่งผลต่อโอกาสหรืออุปสรรคของธุรกิจ

    7.  ระบบการวางแผนความต้องการวัสดุหรือ MRP คืออะไร และมีประโยชน์ต่อการบริหารการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างไร
    ตอบ       1.  ลดการขาดแคลนวัตถุดิบที่จำเป็นในการผลิต
                    2.  ลดค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาวัตถุดิบและสินค้าคงคลัง
                    3.  ช่วยให้บุคลากรมีเวลาในการปฏิบัติงานอื่นมากขึ้น
                    4.  ประหยัดแรงงาน เวลา และค่าใช้จ่ายในการติดตามวัตถุดิบ
                    5.  ช่วยให้องค์การสามารถปรับตัวอย่างรวดเร็วตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

    8.  ข้อมูลจากแผนกกลยุทธ์ขององค์การเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานตามหน้าที่ทางธุรกิจอย่างไร
    ตอบ   เป็นแม่แบบและแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์การผลิตและการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ

    9.   เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อการจัดการทรัพยากรบุคคลอย่างไร
    ตอบ     1.  ความสามารถ (Capability)
                    2.  การควบคุม (control )
                    3.  ต้นทุน (Cost)
                    4.  การติดต่อสื่อสาร ( communication )
                    5.  ความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage)

    10.  จงยกตัวอย่างความสำคัญของระบบสารสนเทศที่มีต่อการตัดสินใจทางธุรกิจ
    ตอบ       ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล (human resource information system)หรือHRIS หรือระบบสานสนเทศสำหรับบริหารงานบุคคล (personnel information system)หรือPIS เป็น ระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาให้สนับสนุนการดำเนินงานด้านทรัพยากรบุคคล ตั้งแต่การวางแผน การจ้างงาน การพัฒนาและการฝึกอบรม ค่าจ้างเงินเดือน การดำเนินการทางวินัย ช่วยให้การบริหารทรัพยากรบุคคลเกิดประสิทธิภาพ การ ประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินงานช่วย ให้งานทรัพยากรบุคคลมีประสิทธิภาพขึ้น โดยที่การพัฒนาระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคลต้องพิจารณาปัจจัยสำคัญ 5 ประการดังต่อไปนี้
                    1.  ความสามารถ
                    2.  การควบคุม
                    3.  ต้นทุน
                    4.  การติดต่อสื่อสาร
                    5.  ความได้เปรียบในการแข่งขัน
                    6.  การวางแผนทำกำไรทั้งในระยะสั้นและระยะยาวของธุรกิจโดยสารสนเทศที่เป็นที่ต้องการคือสารสนเทศจากการวิจัยตลาดยอดขายในอดีต สารสนเทศของคู่แข่งขัน การพยากรณ์การขาย และการโฆษณา
                    7.  ระบบสารสนเทศสำหรับการกำหนดราคา การกำหนดราคาของสินค้านับว่าเป็นจิตวิทยาอย่างหนึ่งทางการตลาด เพราะต้องคำนึงถึงความต้องการของลูกค้า คู่แข่งขันกำลังซื้อของลูกค้า โดยปกติแล้วราคาสินค้าจะตั้งจากราคาต้นทุนรวมกับร้อยละของกำไรที่ต้องการ โดยสารสนเทศที่ต้องการได้แก่ ตัวเลขกำไรของผลิตภัณฑ์ในอดีต เพื่อทำการปรับปรุงราคาให้ได้สัดส่วนของกำไรคงเดิม ในกรณีที่ต้นทุนมีการเปลี่ยนแปลง
                    8.  ระบบสารสนเทศสำหรับการควบคุมค่าใช้จ่าย บุคคล ที่เป็นผู้ควบคุมสามารถควบคุมได้โดยดูจากรายงานของผลการทำกำไร กับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงหรือสาเหตุของการคลาดเคลื่อนของค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการขายรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่นเงินเดือน ค่าโฆษณา ค่าส่วนแบ่งการขาย เป็นต้นปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีส่วนสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะการขยายโอกาสและเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางการค้า ซึ่งทำให้นักการตลาดสมัยใหม่ต้องสามารถประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อก่อ ให้เกิดโอกาสและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันแก่องค์การ ซึ่งจะส่งผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของตน