วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2555


เครื่องสีข้าวขนาดเล็ก
                                 http://www.stou.ac.th/study/sumrit/1-53/4.2-1-53.jpg
ความสำคัญและความเป็นมาของโครงการ
          เครื่องต้นแบบเครื่องสีข้าวขนาดเล็กเครื่องนี้ที่พัฒนาขึ้นมามันเป็นวัตถุประสงค์หลักอันหนึ่งของโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลเกษตร ที่ได้รับการสนับสนุนของการดำเนินงานจาก 3 หน่วยงาน คือจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เองในฐานะให้นักวิจัยแล้วก็ไปที่สำนักงานเกษตรอุตสาหกรรม แล้วสถาบันเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย เพื่อโครงการนี้ก็คือพัฒนาเครื่องต้นแบบโดยเฉพาะเครื่องจักรกล
เกษตรให้สามารถนำไปผลิตเชิงพานิชย์ได้อย่างเป็นรูปธรรม นั้นหมายถึงว่าก่อนที่ดำเนินการคงต้องมีการสำรวจและก็มีเป้าหมายชัดเจนว่ากลุ่มเป้าหมายก็น่าจะเป็นทั้งกลุ่มผู้ผลิตในกลุ่มของเครื่องจักรกล การผลิตเครื่องจักรกลอุตสาหกรรมเกษตรและก็กลุ่มผู้ใช้เครื่องนี้ก็คือเป้าหมายหลักของโครงการที่มาที่ไปเริ่มโครงการนี้ 1 ปีที่ผ่านมา แล้วเราก็รีบเร่งดำเนินการกัน มีการวางแผนทีมงานจัดระบบงานวิจัย แล้วก็ดำเนินการกันมาโดยตลอดจนสำเร็จลุล่วงมามาได้เครื่องต้นแบบออกมา
วิธีการทำงานของเครื่องสีข้าว
          พัฒนาเครื่องต้นแบบที่ไม่มีความสลับซับซ้อนมากนัก เพื่อให้กลุ่มผู้ใช้หรือกลุ่มผู้ผลิตดูแล้วจับต้องได้ มีความรู้สึกว่าไม่ไกลตัวเกินไปนัก คือเป็นจุดที่เราดำเนินการของการพัฒนาเครื่องจักรกลตัวนี้ขึ้นมา คือหลักการของทำงานการแปรรูปข้าวเปลือกหรือเรียกว่าการสีข้าว มันจะมีกระบวนการหลัก ก็คือว่า ขั้นตอนที่ 1 ก็คือการกะเทาะแตก แล้วก็ไปการคัดแยกซึ่งจะคัดแยกข้าวก้องแล้วก็สู่การขัดขาวและหลังจากนั้นพอได้ขัดขาวก็จะได้สิ่งที่เราเรียกว่าข้าวรวมหรือข้าวสารที่รับทานกันทุกวัน ซึ่งหลักจากที่ได้ตรงนี้มาแล้วถ้าเป็นโรงสีเชิง
การค้าหรือโรงสีขนาดใหญ่ก็จะมีการคัดแยกให้ได้มาตรฐานข้าวขนาดต่าง ๆ กัน ซึ่งโรงสีเล็กหรือว่าของเราที่พัฒนาขึ้นมาเราก็พยายามจำลองไลน์ ขั้นตอนการทำงานตรงนี้มาไว้ในเครื่องเดียวเล็ก ๆ เพราะฉะนั้นการทำงานคล้ายคลึงกัน แต่ประสิทธิภาพอาจจะแตกต่างกันเพราะว่าเครื่องสีขนาดเล็กทำงานเพียง 1 ครั้ง นั่นคือหมายถึงว่าเอาข้างเปลือกใส่เครื่องแล้วมันออกมาก็คือเป็นข้าวขาวรับประทานได้
แต่ถ้าเป็นโรงสีขนาดใหญ่ก็จะมีขั้นตอนลึกลับซับซ้อนมากกว่านี้ สำหรับข้าวกล้องพอใส่ข้าวเปลือกลงไปปึ้บผู้ใช้สามารถเลือกได้เลยว่าจะเอาเป็นข้าวกล้องอย่างเดียวหรือว่าจะเป็นข้าวขาว เพราะว่าขั้นตอนจริง ๆ แล้ว 1 ต้องกะเทาะแกลบได้ข้าวกล้อง และนำข้าวกล้องไปขัดขาวแล้วถึงจะได้ข้าวรวม แต่ในขั้นตอนของข้าวกล้องไปขัดขาวข้าวรวมก็สามารถมีสวิตช์แบ่งแยกได้ว่าถ้าบังคับให้เอาข้าวกล้องออกเราก็เอาข้าวกล้องมาเป็นบรรจุขายได้เหมือนกัน ระยะเวลาที่ใช้ได้ประมาณ 150 กิโลกรัม ข้าวเปลือกต่อชั่วโม
จุดเด่นของเครื่องสีข้าว
          ก็คือพอนึกถึงสภาพรถตุ๊ก ๆ ที่วิ่งทั่ว ๆ ไป ก็ให้มีขนาดมิติภายนอกขนาดนั้น สูงสุดจากพื้นถึงจุดสูงสุดของเครื่องก็อยู่ประมาณที่2 เมตร เพราะฉะนั้นจะมีขนาดกระทัดรัด แล้วก็เป็นจุดเด่นของเครื่องนี้คือสามารถเข้าไปถึงกับชุมชนหรือในระดับชุมชนหรือในระดับครัวเรือนได้เลยในทุกสภาพพื้นที่ขอให้มีทางให้รถตุ๊ก ๆ นี่วิ่งไปได้ ไปได้เลยไม่ว่าจะในเขตชุมชนเมืองหรือชุมชนชนบท
                           http://news.cedis.or.th/images/pic_upload/1101089712_39448_1.jpg
ประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับ
เพื่อเป็นการการประหยัดต้นทุนการสีข้าวในแต่ละครั้ง
เพื่อพัฒนาและปรับปรุงเครื่องสีข้าวกล้องขนาดเล็กให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น
   1. การทำความสะอาด เป็นขั้นตอนทำงานเพื่อกำจัดสิ่งเจือปน เช่น กรวด หิน ดิน ทราย เมล็ด วัชพืช และสิ่งสกปรกอื่นๆ ออกจากข้าวเปลือก 
   2. การกะเทาะ เป็นการทำงาน เพื่อทำให้เปลือกข้าวที่ห่อหุ้มเมล็ดหลุดออกจากเมล็ด โดยจะได้แกลบ และข้าวกล้องจากขั้นตอนนี้ 
   3. การขัดขาว เป็นขั้นตอนเพื่อทำให้ผิวชั้นนอกของเมล็ดข้าวกล้อง หลุดออกจากเมล็ดข้าวกล้อง ผิวนอกที่หลุดออกมานี้คือสิ่งที่เรียกว่า รำ และเมล็ดข้าวที่ได้จะมีสีขาว เรียกว่า ข้าวขาวหรือข้าวสาร และเป็นข้าวรวมที่มีทั้งเมล็ดข้าวหักและข้าวเต็มเมล็ด 
   4. การคัดแยก เป็นลำดับขั้นตอนเพื่อแยกข้าวรวม ออกเป็น ข้าวเต็มเมล็ด ต้นข้าว และข้าวหัก ขนาดต่างออกจากกัน โดยทั่วไปกระบวนการสีข้าวดังกล่าวนี้ จะได้ แกลบประมาณ 20-24% ของข้าวเปลือก รำ ที่รวมถึงส่วนผสมของเยื่อหุ้มผล เยื่อหุ้มเมล็ด เยื่ออลูโรน และคัพภะ ประมาณ 8-10% ของข้าวเปลือก และได้ข้าวสารรวม ประมาณ 60 – 65 % ของข้าวเปลือก และข้าวรวมนี้ไปคัดแยกเป็นข้าวเต็มเมล็ดต้นข้าว และข้าวหักซึ่งจะได้แต่ละส่วนมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับคุณภาพของการสีคุณภาพข้าวเปลือกและสมรรถนะเครื่องจักรสีข้าว


          เครื่องตรงนี้พอมองที่กลุ่มผู้ผลิตได้แล้วก็มองไปที่กลุ่มผู้ใช้ พอไปถึงกลุ่มผู้ใช้ก็อยากจะแบ่งเป็นกลุ่มที่ต้องใช้จริง ๆ หรือเฉพาะเจาะจงก็คือกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าว มีทั้งระดับในชุมชนเกษตรเป็นสหกรณ์หรืออะไรก็แล้วแต่ ชุมนุมแม่บ้านอะไรก็แล้วแต่แล้วก็เป็นเกษตรกรระดับครัวเรือน แล้วก็อีกกลุ่มหนึ่งก็คือมองว่าน่าจะเป็นเครื่องจักรกลที่ว่าใครก็ได้ที่มีแล้วสามารถไปประกอบอาชีพอิสระได้ในกรณีที่
3 คือใครก็ได้ที่มีเงินทุนพอที่จะลงทุนไม่มากเกินไปอะไรต่าง ๆ แล้วก็สามารถที่จะเลี้ยงครอบครัวได้ สำหรับประเด็นของ
เกษตรกรก็มองว่าถ้านำเครื่องนี้เข้าไปแล้วมันสามารถที่จะทำให้เกษตรกรหรือชุมชนเกษตรกรตรงนั้นพึ่งพาตนเองได้ในการผลิตข้าวอย่างครบวงจร เริ่มตั้งแต่การผลิตจนกระทั่งถึงการแปรรูปก็มองต่อไปว่าถ้าเป็นชุมชนเกษตรกรที่เป็นการแปรรูปผลิตภัณฑ์ก็จะสามารถควบคุมการผลิตได้ ควบคุมคุณภาพได้ในทุกขั้นตอน นั่นคือประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น





เครื่องผลิตถ่านแท่ง

http://pirun.kps.ku.ac.th/~b4924187/ima/capture-20120312-225039.png

หลักการและเหตุผล
                 ปัญหาเชื้อเพลิงในปัจจุบัน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำลง จึงมีความจำเป็นที่ต้องการหาวัสดุที่สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิง โดยเฉพาะการใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้ม ปิ้ง ย่างของครัวเรือน และร้านอาหารต่างๆ ในอดีตจะใช้ไม้เป็นเชื้อเพลิงอาจจะอยู่ในรูปของไม้ฟืน หรือถ่านไม้ แต่ในปัจจุบันปริมาณไม้มีปริมาณไม่มากนัก จึงทำให้มีความสนใจในการนำวัตถุดิบหรือวัสดุทางการเกษตรได้แก่ กะลามะพร้าว เศษไม้ยางพารา ข้อไม้ไผ่ กะลาปาล์ม ขี้เลื่อย ซังข้าวโพด เศษไม้ต่างๆ
เป็นต้น มาผลิตเป็นเชื้อเพลิง กระบวนการผลิตเชื้อเพลิงเป็นการเผาแล้วนำมาอัดเพื่อให้อยู่ในรูปแบบของถ่านอัดแท่ง หรือถ่านอัดเป็นก้อน เนื่องจากใช้สะดวก ไม่มีควัน เผาไหม้ได้นาน และราคาไม่สูงมากเมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงอื่น แต่ปัญหาของคุณภาพของถ่านอัดแท่งในปัจจุบันมีหลายประการ คือ มีลักษณะเปราะ มีควันระหว่างการติดไฟ ระยะเวลาในการเผาไหม้สั้น และเกิด
เชื้อรา
                 จากปัญหาดังกล่าวกรมวิทยาศาสตร์บริการได้ทำการศึกษาวิจัยโดยนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหา และ
สามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีกระบวนการผลิตถ่านอัดแท่ง และให้คำปรึกษาในการแก้ปัญหาให้กับกลุ่มชุมชนและผู้สนใจได้

      
 คุณสมบัติเด่น
             การผลิตถ่านอัดแท่งจากวัสดุทางการเกษตรได้แก่ กะลามะพร้าว เศษไม้ยางพารา ข้อไม้ไผ่ กะลาปาล์ม เป็นต้นเป็นการนำทรัพยากรธรรมชาตินั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นการเพิ่มมูลค่าของวัตถุดิบนอกจากนี้เป็นการเพิ่มพลังงานทางเลือกให้แก่ชุมชน


ประโยชน์

                 1.           ถ่ายทอดเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิตถ่านอัดแท่ง เพื่อเข้าไปพัฒนากระบวนการผลิตและคุณภาพผลิตภัณฑ์ สินค้า
OTOP. ให้ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
                 2.           เป็นการเพิ่มมูลค่าวัสดุและผลิตผลทางการเกษตร
                 3.           ใช้ทรัพยากรธรรมชาติในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด
                 4.           พัฒนาขีดความสามารถในการพึ่งตนเองในด้านการแปรรูปถ่าน


ขั้นตอนการผลิต
                 1.           นำวัตถุดิบชนิดต่างๆมาเผาให้เป็นถ่าน                        
                 2.           บดถ่านที่ได้จากการเผา
                 3.           ผสมถ่านกับแป้ง แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน โดยใช้แป้ง ร้อยละ 5-7 ของน้ำหนักถ่าน
                 4.           แล้วค่อยๆเติมน้ำผสมเข้าให้ทั่ว(ทดสอบปริมาณน้ำโดยการนำถ่านมากำในมือแล้วอยู่เป็นก้อนได้)
                 5.           นำถ่านที่ผสมได้ไปใส่ในเครื่องอัดรีด เพื่อผลิตเป็นถ่านอัดแท่ง จากนั้นตัดขนาดถ่านความยาวตามต้องการ
                 6.           นำถ่านที่อัดแท่งที่ผลิตได้ไปตากแดด หรืออบในตู้อบ
                 7.           วิเคราะห์ทดสอบหาค่าความร้อน ความชื้นและการใช้งาน                                     


32
กรมวิทยาศาสตร์บริการ

การผลิตถ่านอัดแท่งจากวัสดุทางการเกษตร
ปัญหาเชื้อเพลิงในปัจจุบัน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำลง จึงมีความจำเป็นที่ต้องการหาวัสดุที่
สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิง โดยเฉพาะการใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้ม ปิ้ง ย่างของครัวเรือน และร้านอาหารต่างๆ ในอดีตจะใช้
ไม้เป็นเชื้อเพลิงอาจจะอยู่ในรูปของไม้ฟืน หรือถ่านไม้ แต่ในปัจจุบันปริมาณไม้มีปริมาณไม่มากนัก จึงทำให้มีความสนใจในการ
นำวัตถุดิบหรือวัสดุทางการเกษตรได้แก่ กะลามะพร้าว เศษไม้ยางพารา ข้อไม้ไผ่ กะลาปาล์ม ขี้เลื่อย ซังข้าวโพด เศษไม้ต่างๆ
เป็นต้น มาผลิตเป็นเชื้อเพลิง กระบวนการผลิตเชื้อเพลิงเป็นการเผาแล้วนำมาอัดเพื่อให้อยู่ในรูปแบบของถ่านอัดแท่ง หรือถ่าน
อัดเป็นก้อน เนื่องจากใช้สะดวก ไม่มีควัน เผาไหม้ได้นาน และราคาไม่สูงมากเมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงอื่น แต่ปัญหาของคุณภาพ
ของถ่านอัดแท่งในปัจจุบันมีหลายประการ คือ มีลักษณะเปราะ มีควันระหว่างการติดไฟ ระยะเวลาในการเผาไหม้สั้น และเกิด
เชื้อรา
จากปัญหาดังกล่าวกรมวิทยาศาสตร์บริการได้ทำการศึกษาวิจัยโดยนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหา และ
สามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีกระบวนการผลิตถ่านอัดแท่ง และให้คำปรึกษาในการแก้ปัญหาให้กับกลุ่มชุมชนและผู้สนใจได้
การผลิตถ่านอัดแท่งจากวัสดุทางการเกษตร
ชื่อผลงาน
สิทธิบัตร / อนุสิทธิบัตร หมายเลข
ประเภทผลงาน
ลักษณะกิจกรรม
กลุ่มเป้าหมาย
..............................
งานวิจัยพัฒนา
ถ่ายทอดเทคโนโลยี ขายเทคโนโลยี
ให้คำปรึกษา
ชุมชน ผู้ประกอบการ/SMEs33
เทคโนโลยีวศ.

คุณสมบัติเด่น

ประโยชน์

ขั้นตอนการผลิต

ผู้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีวศ.

การผลิตถ่านอัดแท่งจากวัสดุทางการเกษตรได้แก่ กะลามะพร้าว เศษไม้ยางพารา ข้อไม้ไผ่ กะลาปาล์ม เป็นต้น
เป็นการนำทรัพยากรธรรมชาตินั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นการเพิ่มมูลค่าของวัตถุดิบนอกจากนี้เป็นการเพิ่มพลังงาน
ทางเลือกให้แก่ชุมชน
1. ถ่ายทอดเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิตถ่านอัดแท่ง เพื่อเข้าไปพัฒนากระบวนการผลิตและคุณภาพผลิตภัณฑ์ สินค้า
OTOP. ให้ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
2. เป็นการเพิ่มมูลค่าวัสดุและผลิตผลทางการเกษตร
3. ใช้ทรัพยากรธรรมชาติในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด
4. พัฒนาขีดความสามารถในการพึ่งตนเองในด้านการแปรรูปถ่าน
1. นำวัตถุดิบชนิดต่างๆมาเผาให้เป็นถ่าน
2. บดถ่านที่ได้จากการเผา
3. ผสมถ่านกับแป้ง แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน โดยใช้แป้ง ร้อยละ 5-7 ของน้ำหนักถ่าน
4. แล้วค่อยๆเติมน้ำผสมเข้าให้ทั่ว(ทดสอบปริมาณน้ำโดยการนำถ่านมากำในมือแล้วอยู่เป็นก้อนได้)
5. นำถ่านที่ผสมได้ไปใส่ในเครื่องอัดรีด เพื่อผลิตเป็นถ่านอัดแท่ง จากนั้นตัดขนาดถ่านความยาวตามต้องการ
6. นำถ่านที่อัดแท่งที่ผลิตได้ไปตากแดด หรืออบในตู้อบ
7. วิเคราะห์ทดสอบหาค่าความร้อน ความชื้นและการใช้งาน
การถ่ายทอดเทคโนโลยี
1. กลุ่มเกษตรกรในจังหวัดนครศรีธรรมราช
2. กลุ่มเกษตรกรในจังหวัดกาญจนบุรี
3. กลุ่มเกษตรกรในจังหวัดอุตรดิตถ์
พัฒนาคุณภาพ
1. กลุ่มถ่านอัดแท่งบ้านดอยชมภูตำบลโปร่งแพร่ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย
2. กลุ่มแม่สายคาร์บอนซ์ตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
3. กลุ่มถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพด ตำบลหนองกะท้าว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
เจ้าของผลงาน : กลุ่มวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี
หน่วยงาน : สำนักเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ
โทรศัพท์ : 0 2201 7107
โทรสาร : 0 2201 7102
e-mail    : urawan@dss.go.th

เครื่องสีข้าวขนาดเล็ก
                                 http://www.stou.ac.th/study/sumrit/1-53/4.2-1-53.jpg
ความสำคัญและความเป็นมาของโครงการ
          เครื่องต้นแบบเครื่องสีข้าวขนาดเล็กเครื่องนี้ที่พัฒนาขึ้นมามันเป็นวัตถุประสงค์หลักอันหนึ่งของโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลเกษตร ที่ได้รับการสนับสนุนของการดำเนินงานจาก 3 หน่วยงาน คือจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เองในฐานะให้นักวิจัยแล้วก็ไปที่สำนักงานเกษตรอุตสาหกรรม แล้วสถาบันเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย เพื่อโครงการนี้ก็คือพัฒนาเครื่องต้นแบบโดยเฉพาะเครื่องจักรกล
เกษตรให้สามารถนำไปผลิตเชิงพานิชย์ได้อย่างเป็นรูปธรรม นั้นหมายถึงว่าก่อนที่ดำเนินการคงต้องมีการสำรวจและก็มีเป้าหมายชัดเจนว่ากลุ่มเป้าหมายก็น่าจะเป็นทั้งกลุ่มผู้ผลิตในกลุ่มของเครื่องจักรกล การผลิตเครื่องจักรกลอุตสาหกรรมเกษตรและก็กลุ่มผู้ใช้เครื่องนี้ก็คือเป้าหมายหลักของโครงการที่มาที่ไปเริ่มโครงการนี้ 1 ปีที่ผ่านมา แล้วเราก็รีบเร่งดำเนินการกัน มีการวางแผนทีมงานจัดระบบงานวิจัย แล้วก็ดำเนินการกันมาโดยตลอดจนสำเร็จลุล่วงมามาได้เครื่องต้นแบบออกมา
วิธีการทำงานของเครื่องสีข้าว
          พัฒนาเครื่องต้นแบบที่ไม่มีความสลับซับซ้อนมากนัก เพื่อให้กลุ่มผู้ใช้หรือกลุ่มผู้ผลิตดูแล้วจับต้องได้ มีความรู้สึกว่าไม่ไกลตัวเกินไปนัก คือเป็นจุดที่เราดำเนินการของการพัฒนาเครื่องจักรกลตัวนี้ขึ้นมา คือหลักการของทำงานการแปรรูปข้าวเปลือกหรือเรียกว่าการสีข้าว มันจะมีกระบวนการหลัก ก็คือว่า ขั้นตอนที่ 1 ก็คือการกะเทาะแตก แล้วก็ไปการคัดแยกซึ่งจะคัดแยกข้าวก้องแล้วก็สู่การขัดขาวและหลังจากนั้นพอได้ขัดขาวก็จะได้สิ่งที่เราเรียกว่าข้าวรวมหรือข้าวสารที่รับทานกันทุกวัน ซึ่งหลักจากที่ได้ตรงนี้มาแล้วถ้าเป็นโรงสีเชิง
การค้าหรือโรงสีขนาดใหญ่ก็จะมีการคัดแยกให้ได้มาตรฐานข้าวขนาดต่าง ๆ กัน ซึ่งโรงสีเล็กหรือว่าของเราที่พัฒนาขึ้นมาเราก็พยายามจำลองไลน์ ขั้นตอนการทำงานตรงนี้มาไว้ในเครื่องเดียวเล็ก ๆ เพราะฉะนั้นการทำงานคล้ายคลึงกัน แต่ประสิทธิภาพอาจจะแตกต่างกันเพราะว่าเครื่องสีขนาดเล็กทำงานเพียง 1 ครั้ง นั่นคือหมายถึงว่าเอาข้างเปลือกใส่เครื่องแล้วมันออกมาก็คือเป็นข้าวขาวรับประทานได้
แต่ถ้าเป็นโรงสีขนาดใหญ่ก็จะมีขั้นตอนลึกลับซับซ้อนมากกว่านี้ สำหรับข้าวกล้องพอใส่ข้าวเปลือกลงไปปึ้บผู้ใช้สามารถเลือกได้เลยว่าจะเอาเป็นข้าวกล้องอย่างเดียวหรือว่าจะเป็นข้าวขาว เพราะว่าขั้นตอนจริง ๆ แล้ว 1 ต้องกะเทาะแกลบได้ข้าวกล้อง และนำข้าวกล้องไปขัดขาวแล้วถึงจะได้ข้าวรวม แต่ในขั้นตอนของข้าวกล้องไปขัดขาวข้าวรวมก็สามารถมีสวิตช์แบ่งแยกได้ว่าถ้าบังคับให้เอาข้าวกล้องออกเราก็เอาข้าวกล้องมาเป็นบรรจุขายได้เหมือนกัน ระยะเวลาที่ใช้ได้ประมาณ 150 กิโลกรัม ข้าวเปลือกต่อชั่วโม
จุดเด่นของเครื่องสีข้าวฉบับกระเป๋า
          ก็คือพอนึกถึงสภาพรถตุ๊ก ๆ ที่วิ่งทั่ว ๆ ไป ก็ให้มีขนาดมิติภายนอกขนาดนั้น สูงสุดจากพื้นถึงจุดสูงสุดของเครื่องก็อยู่ประมาณที่2 เมตร เพราะฉะนั้นรถจะขนาดกระทัดรัด แล้วก็เป็นจุดเด่นของเครื่องนี้คือสามารถเข้าไปถึงกับชุมชนหรือในระดับชุมชนหรือในระดับครัวเรือนได้เลยในทุกสภาพพื้นที่ขอให้มีทางให้รถตุ๊ก ๆ นี่วิ่งไปได้ ไปได้เลยไม่ว่าจะในเขตชุมชนเมืองหรือชุมชนชนบท
ประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับ
          เครื่องตรงนี้พอมองที่กลุ่มผู้ผลิตได้แล้วก็มองไปที่กลุ่มผู้ใช้ พอไปถึงกลุ่มผู้ใช้ก็อยากจะแบ่งเป็นกลุ่มที่ต้องใช้จริง ๆ หรือเฉพาะเจาะจงก็คือกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าว มีทั้งระดับในชุมชนเกษตรเป็นสหกรณ์หรืออะไรก็แล้วแต่ ชุมนุมแม่บ้านอะไรก็แล้วแต่แล้วก็เป็นเกษตรกรระดับครัวเรือน แล้วก็อีกกลุ่มหนึ่งก็คือมองว่าน่าจะเป็นเครื่องจักรกลที่ว่าใครก็ได้ที่มีแล้วสามารถไปประกอบอาชีพอิสระได้ในกรณีที่
3 คือใครก็ได้ที่มีเงินทุนพอที่จะลงทุนไม่มากเกินไปอะไรต่าง ๆ แล้วก็สามารถที่จะเลี้ยงครอบครัวได้ สำหรับประเด็นของ
เกษตรกรก็มองว่าถ้านำเครื่องนี้เข้าไปแล้วมันสามารถที่จะทำให้เกษตรกรหรือชุมชนเกษตรกรตรงนั้นพึ่งพาตนเองได้ในการผลิตข้าวอย่างครบวงจร เริ่มตั้งแต่การผลิตจนกระทั่งถึงการแปรรูปก็มองต่อไปว่าถ้าเป็นชุมชนเกษตรกรที่เป็นการแปรรูปผลิตภัณฑ์ก็จะสามารถควบคุมการผลิตได้ ควบคุมคุณภาพได้ในทุกขั้นตอน นั่นคือประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น

 แนวทางการผลิตและต้นทุน
          เนื่องจากเครื่องนี้เป็นเครื่องแรก เป็นเครื่องต้นแบบที่ได้รับการสนับสนุนดำเนินการวิจัยมา เพราะนั้นการที่เผยแพร่ออกมาดำเนิน
การทดลองในระดับหนึ่ง ก็มีความเชื่อมั่นว่าสามารถทำงานได้นะครับ กำลังวางแผนที่จะทำในขั้นต่อไป คือการขยายผลและก็หากความ
ร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชนโดยเฉพาะผู้ผลิตนี่ แล้วก็เป้าหมายของเราลึก ๆ แล้วอยากจะพัฒนาเครื่องนี้ของเราแล้วส่งออก ราคาที่วาง
ไว้ให้คือคำนึงถึงผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นใคร ราคาก็จะแปรเปลี่ยนตั้งแต่อยู่ในช่วงถึง 2 แสนถึง 2 แสน 5 หมื่นบาท
ตรงนี้เป็นราคาปลีกที่ได้ทั้งชุดหมายถึงได้การขับเคลื่อนก็คือได้รถตุ๊ก ๆ ได้เครื่องสีข้าว ได้อุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ครบชุดเลย คราวนี้ราคาที่
แตกต่างกันก็จะขึ้นอยู่กับวัสดุของที่ผู้ผลิตจะไปเลือกใช้ อย่างเครื่องต้นแบบจะวางไว้ที่ 250,000 บาท ในแง่ของผู้ผลิตพอมีกำไรบ้าง
ในแง่ของผู้ใช้ก็จะได้วัสดุที่เป็นเหล็กกล้าไร้สนิมอันนั้นก็จะเป็นแพงขึ้นมา

โครงการพัฒนาในอนาคต
          ประเทศเราการผลิตข้าวน่าจะเป็นความเก่ง เพราะฉะนั้นโดยเฉพาะเครื่องจักรกลเกษตร 1 แล้วก็จะตอบสนองกับความต้องการ
ของภายในประเทศ แล้วในขณะเดียวกันคิดว่าทีมงานถ้ามีความร่วมมือเกิดขึ้นจะพัฒนาจนถึงส่งออกแข่งขันกับต่างประเทศได้ ตรงนั้น
คิดว่าไม่ไกลเกินเอื้อม แล้วเราคงกำลังอยู่ในกระบวนการที่จะดำเนินการ ก็มีการหาทุนสนับสนุนวิจัยอะไรต่าง ๆ ดำเนินการอยู่ คือโดย
สายวิชาการก็จะทำในลักษณะของการพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตร โดยเฉพาะ ณ วันนี้คิดว่าน่าจะลองไปพัฒนาวิจัยในลักษณะของเป็น
เครื่องมือหลังการเก็บเกี่ยวหรือเป็นเครื่องมือแปรสภาพผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งตรงนั้นจะทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มของการแปรรูปจากหน่วย
แรกก็คือหมายถึงจากชุมชนของเกษตรกรผู้ผลิตวัตถุดิบเองแล้วนำมาสู่เป็นโปรดักส์สุดท้ายอะไรต่าง ๆ ตรงนั้นจะพยายามเพิ่มทางเลือก
อะไรต่าง ๆ ก็มีหลากหลายกันอยู่เพราะเนื่องจากโดยธรรมชาติของการจัดการเกษตรเองจะมีความต้องการเครื่องจักรกลเกษตร
ที่หลากหลาย

วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ข่าว

เมื่อเวลา 01.30 น. วันนี้ (10 พ.ค.) คนร้าย 3 คน บุกปล้นโชว์รูมจำหน่ายรถยนต์ บริษัท สยามนิสสัน อีสเทิร์น 2002 เลขที่ 20/248 ต.บางไผ่ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา ริมถนนสาย 304 ฉะเชิงเทรา-กบินทร์บุรี
ทั้งนี้ จากการสอบสวนนายพงศธร การะเกด พนักงานรักษาความปลอดภัยของบริษัท ทราบว่า หนึ่งในคนร้ายได้ตรงเข้ามาใช้ปืนจ่อที่ศีรษะของตน ก่อนเข้ามารื้อค้นกระเป๋าที่ตนใส่กุญแจรถไว้ไปไขรถยนต์นิสสันรุ่นอัลเมราหลบ หนีไป โดยมีรถยนต์กระบะอีซูซุสีน้ำเงินของคนร้ายขับตามหลังไป นายพงศธรยังกล่าวอีกว่า สำเนียงของคนร้ายคล้ายกับคนภาคใต้หรือชาวกัมพูชา
นอก จากนี้ ฮาร์ดดิสก์ที่บันทึกภาพจากกล้องวงจรปิดหายไปด้วย โดยพบเหล็กท่อนและค้อนเหล็กขนาดใหญ่ที่คนร้ายทิ้งไว้ ขณะนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังเร่งติดตามตัวคนร้ายมาดำเนินคดี

ข่าวอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 19 ก.ย. พล.ต.ต.ปัญญา มาแม่น รองผบชก. นำทีมพล.ต.ต.อดิศร์ งามจิตสุขศรี ผบก.ทท. แถลงข่าวจับ

กุม น.ส.ลิซ่า บาร์นเนส อายุ 39 ปี น.ส.แคโรลีน เฮเลน อายุ 32 ปีนายปีเตอร์ โทมัส อายุ 37 ปี นายทิม ซิลินสกี้ อายุ 26 ปี สัญชาติอังกฤษ น.ส.มาวิซ แบ็กเคย์ เปียเนีย อายุ 30 ปี สัญชาติฟิลิปปินส์ และนายซาเวียร์ เบอร์กี้ อายุ 39 ปี สัญชาติฝรั่งเศส พร้อมของกลางเครื่องมือและอุปกรณ์สื่อสาร อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก โทรศัพท์มือถือ และเอกสารจำนวมมาก ในข้อหาร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นหรือประชาชน ร่วมกันเผยแพร่หรือส่งต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลอันเป็นเท็จ และเป็นบุคคลต่างด้าวทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต


พล.ต.ต.ปัญญา เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากตำรวจท่องเที่ยวได้รับแจ้งจากตำรวจสากลว่า

มีกลุ่มคนร้ายร่วมกันจัดตั้งบริษัทปลอมขึ้นมาจำนวนหลายบริษัท และติดต่อทางอินเตอร์เน็ต เพื่อหลอกลวงให้ผู้เสียหายติดต่อทำธุรกรรมทางอินเตอร์เน็ต และโอนเงินไปต่างประเทศ กลุ่มแก๊งดังกล่าวได้จัดตั้งบริษัทอยู่ในประเทศไทย และฟิลิปปินส์ ชุดสืบสวนจึงออกตรวจสอบการใช้คอมพิวเตอร์ จนพบว่าแก๊งดังกล่าวซึ่งเป็นชาวต่างชาติ ได้รวมตัวกันอยู่ที่บ้านเลขที่ 58/2 ซ.ทองหล่อ 25 ถ.สุขุมวิท 55 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา

โดยเปิดบริษัทหลอกลวงให้คนมาลงทุนซื้อหุ้น แล้วเอาทรัพย์สินของผู้ถูกหลอกลวงไป

"ผู้ต้องหาได้ใช้ชื่อบริษัทปลอม และเอกสารปลอมทุกอย่าง ยกเว้นแต่หมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้ของบริษัทที่มีอยู่จริง เมื่อลูกค้าโทรศัพท์เข้าไป จะใช้วิธีดักข้อมูลของลูกค้าไว้ในกล่องรับข้อความเสียงทางโทรศัพท์ แล้วจะติดติดกลับไปแล้วให้เบอร์โทรศัพท์ติดต่อกับลูกค้าใหม่โดยตรง ซึ่งแก๊งดังกล่าวได้เงินไปกว่า 100 ล้านบาท

วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

พระราชบัญญัติการคุมครองการใช้คอมพิวเตอร์ ปี 2550

พระราชบัญญัติ
ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พ.ศ. ๒๕๕๐

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐
เป็นปีที่ ๖๒ ในรัชกาลปัจจุบัน


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมาย ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
               มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐
              มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
              มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ ระบบคอมพิวเตอร์หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
ข้อมูลคอมพิวเตอร์หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น
ผู้ให้บริการหมายความว่า
(๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
(๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
ผู้ใช้บริการหมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
พนักงานเจ้าหน้าที่หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
รัฐมนตรีหมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
              มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้น มิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐
(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลัง และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
(๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
มาตรา ๑๓ ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑)(๒) (๓) หรือ (๔)
มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔
             มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือ
ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
(๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ
จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร
                                                                       หมวด ๒
                                                               พนักงานเจ้าหน้าที่

             มาตรา ๑๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด
(๑) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้
(๒) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๔) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่
(๕) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๖) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้
(๗) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว
(๘) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
              มาตรา ๑๙ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ
(๘) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำร้อง ทั้งนี้ คำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดและผู้กระทำความผิด เท่าที่สามารถจะระบุได้ ประกอบคำร้องด้วยในการพิจารณาคำร้องให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็วเมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตามคำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) มอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือ
ผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการดำเนินการตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ
(๘) ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่งการดำเนินการให้ศาลที่มีเขตอำนาจภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดำเนินการ เพื่อเป็นหลักฐานการทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๘ (๔) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของเจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเกินความจำเป็น การยึดหรืออายัดตามมาตรา ๑๘ (๘) นอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือแสดงการยึดหรืออายัดมอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึดหรืออายัดไว้เกินสามสิบวันมิได้ ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัดไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลายึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกินหกสิบวัน เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ที่ยึดหรือถอนการอายัดโดยพลัน หนังสือแสดงการยึดหรืออายัดตามวรรคห้าให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
              มาตรา ๒๐ ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตามที่กำหนดไว้ในภาคสองลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้อง พร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการระงับการทำให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้
                 มาตรา ๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์รวมอยู่ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ หรือสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นระงับการใช้ ทำลายหรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ในครอบครอง หรือเผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ดังกล่าวก็ได้ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ตามวรรคหนึ่งหมายถึงชุดคำสั่งที่มีผลทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมขัดข้อง หรือปฏิบัติงานไม่ตรงตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือโดยประการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงทั้งนี้ เว้นแต่เป็นชุดคำสั่งที่มุ่งหมายในการป้องกันหรือแก้ไขชุดคำสั่งดังกล่าวข้างต้น ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
               มาตรา ๒๒ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ให้แก่บุคคลใดความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการกระทำเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่
โดยมิชอบ หรือเป็นการกระทำตามคำสั่งหรือที่ได้รับอนุญาตจากศาลพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
             มาตรา ๒๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
              มาตรา ๒๔ ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
              มาตรา ๒๕ ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจมีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น
              มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้ ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการ นับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
               มาตรา ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๒๐ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทและปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
               มาตรา ๒๘ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนด
              มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจรับคำร้องทุกข์หรือรับคำกล่าวโทษ และมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ บรรดาที่เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานกับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และรัฐมนตรีมีอำนาจ ร่วมกันกำหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดำเนินการตามวรรคสอง
              มาตรา ๓๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญ ของการประกอบกิจการ และการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่น ในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ หรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ที่มา http://www.cowboythai.com/forum/index.php?topic=1443.msg9206;topicseen