วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2555


เครื่องสีข้าวขนาดเล็ก
                                 http://www.stou.ac.th/study/sumrit/1-53/4.2-1-53.jpg
ความสำคัญและความเป็นมาของโครงการ
          เครื่องต้นแบบเครื่องสีข้าวขนาดเล็กเครื่องนี้ที่พัฒนาขึ้นมามันเป็นวัตถุประสงค์หลักอันหนึ่งของโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลเกษตร ที่ได้รับการสนับสนุนของการดำเนินงานจาก 3 หน่วยงาน คือจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เองในฐานะให้นักวิจัยแล้วก็ไปที่สำนักงานเกษตรอุตสาหกรรม แล้วสถาบันเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย เพื่อโครงการนี้ก็คือพัฒนาเครื่องต้นแบบโดยเฉพาะเครื่องจักรกล
เกษตรให้สามารถนำไปผลิตเชิงพานิชย์ได้อย่างเป็นรูปธรรม นั้นหมายถึงว่าก่อนที่ดำเนินการคงต้องมีการสำรวจและก็มีเป้าหมายชัดเจนว่ากลุ่มเป้าหมายก็น่าจะเป็นทั้งกลุ่มผู้ผลิตในกลุ่มของเครื่องจักรกล การผลิตเครื่องจักรกลอุตสาหกรรมเกษตรและก็กลุ่มผู้ใช้เครื่องนี้ก็คือเป้าหมายหลักของโครงการที่มาที่ไปเริ่มโครงการนี้ 1 ปีที่ผ่านมา แล้วเราก็รีบเร่งดำเนินการกัน มีการวางแผนทีมงานจัดระบบงานวิจัย แล้วก็ดำเนินการกันมาโดยตลอดจนสำเร็จลุล่วงมามาได้เครื่องต้นแบบออกมา
วิธีการทำงานของเครื่องสีข้าว
          พัฒนาเครื่องต้นแบบที่ไม่มีความสลับซับซ้อนมากนัก เพื่อให้กลุ่มผู้ใช้หรือกลุ่มผู้ผลิตดูแล้วจับต้องได้ มีความรู้สึกว่าไม่ไกลตัวเกินไปนัก คือเป็นจุดที่เราดำเนินการของการพัฒนาเครื่องจักรกลตัวนี้ขึ้นมา คือหลักการของทำงานการแปรรูปข้าวเปลือกหรือเรียกว่าการสีข้าว มันจะมีกระบวนการหลัก ก็คือว่า ขั้นตอนที่ 1 ก็คือการกะเทาะแตก แล้วก็ไปการคัดแยกซึ่งจะคัดแยกข้าวก้องแล้วก็สู่การขัดขาวและหลังจากนั้นพอได้ขัดขาวก็จะได้สิ่งที่เราเรียกว่าข้าวรวมหรือข้าวสารที่รับทานกันทุกวัน ซึ่งหลักจากที่ได้ตรงนี้มาแล้วถ้าเป็นโรงสีเชิง
การค้าหรือโรงสีขนาดใหญ่ก็จะมีการคัดแยกให้ได้มาตรฐานข้าวขนาดต่าง ๆ กัน ซึ่งโรงสีเล็กหรือว่าของเราที่พัฒนาขึ้นมาเราก็พยายามจำลองไลน์ ขั้นตอนการทำงานตรงนี้มาไว้ในเครื่องเดียวเล็ก ๆ เพราะฉะนั้นการทำงานคล้ายคลึงกัน แต่ประสิทธิภาพอาจจะแตกต่างกันเพราะว่าเครื่องสีขนาดเล็กทำงานเพียง 1 ครั้ง นั่นคือหมายถึงว่าเอาข้างเปลือกใส่เครื่องแล้วมันออกมาก็คือเป็นข้าวขาวรับประทานได้
แต่ถ้าเป็นโรงสีขนาดใหญ่ก็จะมีขั้นตอนลึกลับซับซ้อนมากกว่านี้ สำหรับข้าวกล้องพอใส่ข้าวเปลือกลงไปปึ้บผู้ใช้สามารถเลือกได้เลยว่าจะเอาเป็นข้าวกล้องอย่างเดียวหรือว่าจะเป็นข้าวขาว เพราะว่าขั้นตอนจริง ๆ แล้ว 1 ต้องกะเทาะแกลบได้ข้าวกล้อง และนำข้าวกล้องไปขัดขาวแล้วถึงจะได้ข้าวรวม แต่ในขั้นตอนของข้าวกล้องไปขัดขาวข้าวรวมก็สามารถมีสวิตช์แบ่งแยกได้ว่าถ้าบังคับให้เอาข้าวกล้องออกเราก็เอาข้าวกล้องมาเป็นบรรจุขายได้เหมือนกัน ระยะเวลาที่ใช้ได้ประมาณ 150 กิโลกรัม ข้าวเปลือกต่อชั่วโม
จุดเด่นของเครื่องสีข้าว
          ก็คือพอนึกถึงสภาพรถตุ๊ก ๆ ที่วิ่งทั่ว ๆ ไป ก็ให้มีขนาดมิติภายนอกขนาดนั้น สูงสุดจากพื้นถึงจุดสูงสุดของเครื่องก็อยู่ประมาณที่2 เมตร เพราะฉะนั้นจะมีขนาดกระทัดรัด แล้วก็เป็นจุดเด่นของเครื่องนี้คือสามารถเข้าไปถึงกับชุมชนหรือในระดับชุมชนหรือในระดับครัวเรือนได้เลยในทุกสภาพพื้นที่ขอให้มีทางให้รถตุ๊ก ๆ นี่วิ่งไปได้ ไปได้เลยไม่ว่าจะในเขตชุมชนเมืองหรือชุมชนชนบท
                           http://news.cedis.or.th/images/pic_upload/1101089712_39448_1.jpg
ประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับ
เพื่อเป็นการการประหยัดต้นทุนการสีข้าวในแต่ละครั้ง
เพื่อพัฒนาและปรับปรุงเครื่องสีข้าวกล้องขนาดเล็กให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น
   1. การทำความสะอาด เป็นขั้นตอนทำงานเพื่อกำจัดสิ่งเจือปน เช่น กรวด หิน ดิน ทราย เมล็ด วัชพืช และสิ่งสกปรกอื่นๆ ออกจากข้าวเปลือก 
   2. การกะเทาะ เป็นการทำงาน เพื่อทำให้เปลือกข้าวที่ห่อหุ้มเมล็ดหลุดออกจากเมล็ด โดยจะได้แกลบ และข้าวกล้องจากขั้นตอนนี้ 
   3. การขัดขาว เป็นขั้นตอนเพื่อทำให้ผิวชั้นนอกของเมล็ดข้าวกล้อง หลุดออกจากเมล็ดข้าวกล้อง ผิวนอกที่หลุดออกมานี้คือสิ่งที่เรียกว่า รำ และเมล็ดข้าวที่ได้จะมีสีขาว เรียกว่า ข้าวขาวหรือข้าวสาร และเป็นข้าวรวมที่มีทั้งเมล็ดข้าวหักและข้าวเต็มเมล็ด 
   4. การคัดแยก เป็นลำดับขั้นตอนเพื่อแยกข้าวรวม ออกเป็น ข้าวเต็มเมล็ด ต้นข้าว และข้าวหัก ขนาดต่างออกจากกัน โดยทั่วไปกระบวนการสีข้าวดังกล่าวนี้ จะได้ แกลบประมาณ 20-24% ของข้าวเปลือก รำ ที่รวมถึงส่วนผสมของเยื่อหุ้มผล เยื่อหุ้มเมล็ด เยื่ออลูโรน และคัพภะ ประมาณ 8-10% ของข้าวเปลือก และได้ข้าวสารรวม ประมาณ 60 – 65 % ของข้าวเปลือก และข้าวรวมนี้ไปคัดแยกเป็นข้าวเต็มเมล็ดต้นข้าว และข้าวหักซึ่งจะได้แต่ละส่วนมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับคุณภาพของการสีคุณภาพข้าวเปลือกและสมรรถนะเครื่องจักรสีข้าว


          เครื่องตรงนี้พอมองที่กลุ่มผู้ผลิตได้แล้วก็มองไปที่กลุ่มผู้ใช้ พอไปถึงกลุ่มผู้ใช้ก็อยากจะแบ่งเป็นกลุ่มที่ต้องใช้จริง ๆ หรือเฉพาะเจาะจงก็คือกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าว มีทั้งระดับในชุมชนเกษตรเป็นสหกรณ์หรืออะไรก็แล้วแต่ ชุมนุมแม่บ้านอะไรก็แล้วแต่แล้วก็เป็นเกษตรกรระดับครัวเรือน แล้วก็อีกกลุ่มหนึ่งก็คือมองว่าน่าจะเป็นเครื่องจักรกลที่ว่าใครก็ได้ที่มีแล้วสามารถไปประกอบอาชีพอิสระได้ในกรณีที่
3 คือใครก็ได้ที่มีเงินทุนพอที่จะลงทุนไม่มากเกินไปอะไรต่าง ๆ แล้วก็สามารถที่จะเลี้ยงครอบครัวได้ สำหรับประเด็นของ
เกษตรกรก็มองว่าถ้านำเครื่องนี้เข้าไปแล้วมันสามารถที่จะทำให้เกษตรกรหรือชุมชนเกษตรกรตรงนั้นพึ่งพาตนเองได้ในการผลิตข้าวอย่างครบวงจร เริ่มตั้งแต่การผลิตจนกระทั่งถึงการแปรรูปก็มองต่อไปว่าถ้าเป็นชุมชนเกษตรกรที่เป็นการแปรรูปผลิตภัณฑ์ก็จะสามารถควบคุมการผลิตได้ ควบคุมคุณภาพได้ในทุกขั้นตอน นั่นคือประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น