วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดบทที่3


แบบฝึกหัดบทที่3
1.จงตอบคำถามข้อย่อยต่อไปนี้
   1.1  อธิบายความหมายของระบบปฏิบัติการทางธุรกิจ (TPS)
ตอบ  ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น เพื่อให้ทำงานเกี่ยวกับการดำเนนงาน ภายในองค์กร โดยใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ เข้ามาเป็นอุปกรณ์หลักของระบบ โดยที่ TPS จะช่วยสนับสนุนให้การดำเนินงานในแต่ละวันของ องค์การเป็นไปอย่างเรียบร้อยเป็นระบบ โดยเฉพาะปัจจุบันที่การดำเนินงานในแต่ละวันมักจะเกี่ยวข้องกับข้อมูลเป็น จำนวนมากอีกทั้งยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถเรียกสารสนเทศอ้างอิงอย่างสะดวกและถูกต้องใน อนาคต
   1.2  หน้าที่หลักของ TPS มีอะไรบ้าง
ตอบ 1.การทำบัญชี  (Bookeeping) ทำหน้าที่ในการเก็บบันทึกการปฏิบัติงานหรือเหตุการณ์ทางการบัญชีที่เกิดขึ้น ในแต่ละวันขององค์การ โดยการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นมักจะเกี่ยวข้องกับบุคคล 2 กลุ่มคือ ลูกค้า (Customer) และผู้ขายวัตถุดิบ (Supplier) โดยที่องค์การต้องมการลงบันทึกรายการขายสินค้าในแต่ละวัน และบันทึกรายการซื้อสินค้าเข้าร้าน เป็นต้น
             2.การอออกแบบเอกสาร(Document Issuance) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการออกแบบเอกสาร   ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในแต่ละวันขององค์การ                 
             3.การทำรายงานควบคุม (Control Reporting) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเก็บเอกสารต่าง ๆ ที่มีผลมาจากการดำเนินงานขององค์การ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบและควบคุมการดำเนินงานขององค์การ
           1.3  อธิบายส่วนประกอบของวงจรการทำงานของ TPS ว่าแตกต่างจากระบบจัดออกรายงาน     สำหรับการจัด MRS อย่างไร
              ตอบ
 TPS และ MRS ข้อแตกต่างคือ MRS จะออกรายงานที่มีวัตถุประสงค์สำหรับสนับสนุนการบริหารและการจัดการของผู้ บริหาร ขณะที่TPS จะออกรายงานที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อแสดงและควบคุมการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นในแต่ละวันต่อองค์การ
2. จงตอบคำถามข้อย่อยต่อไปนี้
  2.1 อธิบายความหมายของระบบจัดทำรายงานเพื่อการจัดการ (MRS)
ตอบ ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อรวบรวม ประมวลผล จัดระบบ และจัดทำรายงาน หรือเอกสารสำหรับช่วยในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร เนื่องจากรายงานที่ถูกทำอย่างเป็นระบบจะช่วยให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ
2.2 รายงานที่ออกระบบ MRS มีกี่ประเภท และอะไรบ้าง ? จงอธิบายอย่างละเอียด
ตอบ 4 ประเภท
                    1.รายงานที่ออกตามตาราง(Schedule Report) เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นตามระยะเวลาที่กำหนดแน่นอน เช่น ประจำวัน ประจำสัปดาห์ หรือประจำเดือน เป็นต้น
                    2. รายการที่ออกในกรณีพิเศษ (Exception Report) เป็นราบงานที่จัดทำขึ้นเมื่อมีสิ่งผิดปกติหรือปัญหาเฉพาะหน้าเกิดขึ้น โดยการนำเสนอรายงานพิเศษมีวัตถุประสงค์ต้องการให้ผู้บริหารรับทราบ ใจละทำการตัดสินใจแก้ไขและควบคุมผลประโยชน์ขององค์การ เช่น รายชื่อลูกค้าที่ค้างชำระ เป็นต้น
                   3. รายการที่ออกตามความต้องการ (Demand Report) เป็นรายการที่จัดทำขึ้นตามความต้องการของผู้บริหาร ซึ่งรายงานตามความต้องการจะแสดงข้อมูลเฉพาะเรื่องที่ผู้บริหารต้องการทราบ เพื่อให้ผู้บริหารเกิดความเข้าใจในปัญหาและสามารถตัดสินใจอย่างเหมาะสม
                  4. รายงานที่ออกเพื่อพยากรณ์ (Predictive Report) เป็นรายงานที่ใช้ข้อสารสนเทศช่
วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร การพยากรณ์จะอาศัยเทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติและคณิตศาสตร์
 2.3 สิ่งที่ควรมีในรายงานที่ออกโดยระบบ MRS มีอะไรบ้าง ?
         ตอบ       1. ตรงประเด็น (Relevance)
                        2. ความถูกต้อง (Accuracy)
                        3. ถูกเวลา (Timelinrss)
                        4.สามารถพิสูจน์ได้ (Verifiability)
 2.4 คุณสมบัติที่ดีของระบบ MRS มีอะไรบ้าง ? จงอธิบายอย่างละเอียด
          ตอบ      -  สนับสนุนการตัดสินใจ
                       -  ผลิตรายงานตามตารางที่ กำหนด
                       -  ผลิตรายงานตามรูปแบบที่กำหนด
                        -  รวบรวมและประมวลผลข้อมูล
                       -   ผลิตรายงานออกมาในรูปกระดาษ

 3. จงอธิบายความหมายของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS)
ตอบ     ระบบสารสนเทศที่จัดหาหรือจัดเตรียมข้อมูลสำคัญสำหรับผู้บริหาร   เพื่อจะช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหาหรือเลือกโอกาสที่เกิดขึ้น ปกติปัญหาของผู้บริหารจะมีลักษณะที่เป็นกึ่งโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้าง ซึ้งยากต่อการวางแนวทางรองรับหรือแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ประการสำคัญ DSS จะไม่ทำการตัดสินใจให้กับผู้บริหาร แต่จะจัดหาและประมวลสารสนเทศหรือสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นในการตัดสินใจให้กับผู้บริหารปัจจุบัน DSS ได้ รับการพัฒนาและนำไปใช้ในองค์กร เนื่องจากเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจจากบุคคลหลายฝ่าย และเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้บริหาร
   4. จงตอบคำถามข้อย่อยต่อไปนี้
4.1 อธิบายความหมายของระบบสารสนเทศสำนักงาน (OIS)
              ตอบ ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น เพื่อช่วยให้การทำงานในสำนักงานมีประสิทธิภาพ โดย OIS จะประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีเครื่องใช้สำนักงานที่ถูกออกแบบให้ปฏิบัติงานในสำนักงานเกิดผล สูงสุด หรือสามารถกล่าวได้อีกนัยหนึ่งคือ ระบบสารสนเทศสำนักงานมีวัตถุประสงค์เพื่อจะอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อ สาร ระหว่างพนักงานภายในองค์กรเดียวกันและระหว่างองค์กร รวมทั้งการติดต่อกับสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ
4.2  อธิบายหน้าที่ของระบบจัดการเอกสารในระบบสารสนเทศสำนักงาน พร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ  ระบบการจัดเอกสาร ถูกพัฒนาขึ้นให้มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการจัดทำ กระจาย และเก็บรักษาเอกสารต่าง ๆ ภายในองค์กร โดยระบบจัดเอกสารจะประกอบด้วยเครื่องมือสำคัญต่อไปนี้
            -    การประมวลคำ
          -      การผลิตเอกสารหลายชุด
          -      การออกแบบเอกสาร
          -      การประมวลรูปภาพ
         -      การเก็บรักษา
4.3 อธิบายหน้าที่ของระบบควบคุมข่าวสารในระบบสารสนเทศสำนักงาน พร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ    ระบบควบคุมและส่งผ่านข่าวสาร เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อควบคุมการกระจายและการใช้งานข่าวสารในสำนักงาน โดยการจัดการข้อมูลให้เป็นระบบ ซึ่งประกอบด้วยรูปแบบในการส่งผ่านข่าวสารที่สำคัญต่อไปนี้
   -          โทรสาร
   -          ไปรษณีย์เล็กทรอนิกส์
   -          ไปรษณีย์เสียง
4.4 อธิบายหน้าที่ของระบบการประชุมทางไกลในระบบสารสนเทศสำนักงาน พร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ ระบบประชุมทางไกล เป็นระบบเชื่อมโยงบุคคลตั้งแต่ 2 คนซึ่งอยู่กันคนละที่ ให้สามารถประชุมหรือโต้ตอบกันได้ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปอยู่ในสถานที่เดียวกัน
                         -   การประชุมทางไกลที่ใช้ทั้งภาพและเสียง
                        -   การประชุมทางไกลใช้เฉพาะเสียง
                          -   การประชุมโดยใช้คอมพิวเตอร์
                        -    โทรทัศน์ภายใน
                         -    การปฏิบัติงานผ่านระบบสื่อสารทางไกล
4.5 อธิบายหน้าที่ของระบบสนับสนุนการทำงานสำนักงานในระบบสารสนเทศสำนักงาน พร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ ระบบสนับสนุนการดำเนินงานในสำนักงาน เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อช่วยให้พนักงานในสำนักงานเดียวกันใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ในสำนักงานให้ เกิดประโยชน์ในการทำงานร่วมกันอย่างเต็มที่ ซึ่งจะประหยัดค่าใช้จ่ายในการลงทุน และช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยที่เราสามารถแบ่งระบบสนับสนุนการดำเนินงานในสำนักงานออกได้เป็นระบบดัง ต่อไปนี้
-          ชุดคำสั่งสำหรับกลุ่ม
-          ระบบจัดระเบียบงาน
-          คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ
-          การนำเสนอประกอบภาพ
-          กระดานข่าวสารในสำนักงาน

แบบฝึกหัดบทที่ 2


แบบฝึกหัดบทที่  2
1.นิยามความหมายและยกตัวอย่างของระบบสารสนเทศเพื่อกรจัดการ
ตอบ  ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ  (Management  Information  System) หรือ  MIS  หมายถึงระบบที่รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง   ทั้งภายในและภายนอกองค์การอย่างมีหลักเกณฑ์  เพื่อนำมาประมวลผลและจัดรูปแบบให้ได้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการทำงาน  และการตัดสินใจในด้านต่าง    ของผู้บริหาร
2.ข้อมูลและสารสนเทศมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ  ข้อมูล  (Data)  หมายถึงข้อมูลดิบ  (Raw  Data)  ที่ถูกเก็บรวบรวมจากแหล่งต่าง    ทั้งภายในและภายนอกองค์กร  ส่วนสารสนเทศ  (Information) หมายถึงผลลัพธ์ที่เกิดจากการประมวลผลข้อมูลดิบที่ถูกจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ  แต่อย่างไรก็ดี  ข้อมูลและสารสนเทศสามารถใช้ทดแทนกันในหลายโอกาส   แต่บางครั้งอาจมีความหมายที่แตกต่างกันมาก  เนื่องจากความเจาะจงในการใช้งาน 
3.สารสนเทศที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร
ตอบ  การพัฒนาระบบสารสนเทศต้องคำนึงถึงคุณสมบัติสำคัญของ  MIS ดังต่อไปนี้
                       1.ความสารถในการจัดการข้อมูล  (Data Manipulation)
                       2.ความปลอดภัยของข้อมูล  (Data Security) 
                       3.ความยืดหยุ่น  (Flexibility) 
                       4.ความพอใจของผู้ใช้งาน  (User Satisfaction)
4.ระบบสารสนเพทศเพื่อการจัดการมีประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจอย่างไร
ตอบ  ประโยชน์ของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมีดังนี้
            1.ช่วยให้ผู้ใช้สารมารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์
            2.ช่วยผู้ใช้ในการกำหนดเป้าหมายกลยุทธ์และการวางแผนปฏิบัติการ
            3.ช่วยผู้ใช้ในการตรวจสอบผลการดำเนินงาน
            4.ช่วยผู้ใช้ในการศึกษาและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
            5.ช่วยให้ผู้ใช้มารถวิเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้น
            6.ช่วยลดค่าใช้จ่าย  ระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้ธุรกิจลดเวลา  แรงงานและค่าใช้จ่ายในการทำงาน
5.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการที่มีประสิทธิภาพต้องประกอบด้วยคุณสมบัติอะไรบ้าง
ตอบระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพจะจัดระบบสารสนเทศในองค์การให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้  ซึ่งจะทำให้การปฏิบัติงานและการแก้ปัญหาสะดวก  รวดเร็ว  และถูกต้อง
6.บุคคลที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมีกี่ระดับ  อะไรบ้าง
ตอบ  บุคคลที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมี  3  ระดับ  ดังต่อไปนี้
1.หัวหน้างานระดับต้น  (First-Line Supervisor หรือ  Operation Manager) 
2.ผู้จัดการระดับกลาง  (Middle Manager) เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่ควบคุมการประสานงานระกว่างหัวหน้างานระดับปฏิบัติการและผู้บริหารระดับสูง
3.ผู้บริหารระดับสูง  (Executive หรือ Top Manager) เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำการกำหนดวิสัยทัศน์  ทิศทาง  วางนโยบาย  และแผนงานระยะยางขององค์การ
7.จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการใช้งานระบบสารสนเทศและระดับของผู้บริหารในองค์การ
ตอบ                แสดงความสัมพันธ์ของระบบสารสนเทศกับระดับผู้บริหาร

ลักษณะของระบบ
ระดับของผู้ใช้
ผู้จัดการระดับปฏิบัติการ
ผู้จัดการระดับกลาง
ผู้จัดการระดับสูง
-ที่มาของสารสนเทศ
-ภายใน
-ภายใน
-ทั้งภายในและภายนอก
-วัตถุประสงค์ของการใช้สารสนเทศ
-ปฏิบัติงาน
-ควบคุมผลปฏิบัติงาน
-วางแผน
-ความถี่ของการใช้สารสนเทศ
-สูง
-ปานกลาง
-ไม่แน่นอน
-ขอบเขตของสารสนเทศ
-แคบแต่ชัดเจน
-ค่อนข้างกว้าง
-กว้าง
-ความละเอียดของสารสนเทศ
-มาก
-สรุปกว้างๆ
-สรุปชัดเจน
-การายงานเหตุการณ์
-ที่เกิดขึ้นแล้ว
-เกิดแล้ว/กำลังจะเกิด
-อนาคต
-ความถูกต้องของสารสนเทศ
-สูง
-ปานกลาง
-ตามความเหมาะสม



8.ผู้บริหารควรมีบทบาทต่อการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การอย่างไร
ตอบ  ผู้บริหารควรมีบทบาทต่อการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การดังนี้
            1.การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสร้างประสิทธิภาพ  และความพร้อมในการแข่งขันให้กับองค์การ
            2.เข้าใจความต้องการของระบบและองค์การในสภาพแวดล้อมยุคโลกาภิวัตน์
            3.ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพในการดำเนินงานทั่วทั้งองค์การ
            4.มีส่วนร่วมในการออกแบบและการพัฒนาโครงสร้างระบบสารสนเทศรวมขององค์การ
            5.บริหารและตัดสินใจในการสรรหาและคัดเลือกเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารโทรคมนาคม
9.โครงสร้างของหน่วยงานสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ส่วน  อะไรบ้าง
ตอบ  โครงสร้างของหน่วยงานสารสนเทศในองค์การจะแบ่งเป็น  3  ส่วนดังต่อไปนี้
            1.หน่วยวิเคราะห์และออกแบบระบบ  (System Analysis and  Design Unit)  มีหน้าที่ในการศึกษา  วิเคราะห์  พัฒนา  และวางระบบงานคอมพิวเตอร์และสารสนเทศให้เหมาะสม
            2.หน่วยเขียนชุดคำสั่ง  (Programming Unit)มีหน้าที่นำระบบงานที่ได้รับการออกแบบหรือความต้องการเกี่ยวกับชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์  จากหน่วยงานอื่นมาทำการเขียนหรือพัฒนาชุดคำสั่ง
            3.หน่วยปฏิบัติการและบริการ  (Operations and  Services  Unit)  ทำหน้าที่ควบคุมและจัดการให้เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สนับสนุน  สามารถทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
10.บุคลากรของหน่วยงานสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ประเภท  อะไรบ้าง
ตอบ  บุคคลการของหน่วยงานสารสนเทศแบ่งออกเป็น  7  ประเภทดังนี้
            1.หัวหน้าพนักงานสารสนเทศ  (Chief  Information  Officer )  หรือที่นิยมเรียกว่า  CIO  เป็นบุคลากรระดับสูงขององค์การ
            2.นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ  (System  Analysis  and  Design)  หรือที่นิยมเรียกว่า  SA  มีหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบงานในระดับต่าง  
            3.ผู้เขียนชุดคำสั่ง   (Programmer)  เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่เขียนชุดคำสั่ง เพื่อควบคุมและสั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ 
            4.ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์  (Computer  Operator)  ทำหน้าที่ดูแลและควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
            5.ผู้จัดตารางเวลา  (Scheduler)  ทำหน้าที่จัดตารางเวลาการใช้คอมพิวเตอร์ให้กับงานแต่ละชนิดภายในห้องคอมพิวเตอร์
            6.พนักงานจัดเก็บและรักษา  (Librarian)  เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่เก็บรักษาและจัดทำรายการของอุปกรณ์
            7.พนักงานจัดเตรียมข้อมูล  (Data  Entry  Operator)  ทำหน้าที่ในการนำข้อมูลจากเอกสารเบื้องต้น  มาจัดให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำความเข้าใจได้
11.เพราะเหตุใดผู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศจะต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับจริยธรรมและจรรยาบรรณ
ตอบ    เทคโนโลยีสารสนเทศ  (Information  Technology)  หรือที่เรียกว่า  IT ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม  อีกทั้ง  IT  มีอิทธิพลอย่างมากในเรื่องการกระจายอำนาจ  ทรัพย์สิน  สิทธิและความรับผิดชอบ  การพัฒนา  IT  ทำให้เกิดผู้แพ้  ผู้ชนะ  ผู้ได้ประโยชน์  หรือผู้เสียประโยชน์  จะเห็นว่าระบบข้อมูลสารสนเทศนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการดูแลรักษาความปลอดภัยของข้อมูล รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง  โดยแผนกหรือฝ่ายสารสนเทศเพื่อการจัดการจะมีนโยบายที่แน่นอนในการจัดการข้อมูลให้เกิดความปลอดภัย  ใช้อย่างถูกต้องและเป็นประโยชน์  จึงเป็นสิ่งสำคัญของผู้ทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ  ที่จะต้องตระหนักและให้ความสำคัญ
12.จงอธิบายตัวอย่างผลกระทบทางบวกและทางลบของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอบ  ผลกระทบทางบวกมีดังนี้
            1.เพิ่มความสะดวกสบายในการสื่อสาร  การบริหาร  และการผลิต
            2.เกิดสังคมแห่งการสื่อสารและสังคมโลก
            3.มีระบบผู้เชี่ยวชาญต่าง    ในฐานข้อมูลความรู้ 
            4.เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างโอกาสให้คนพิการ  หรือผู้ด้อยโอกาสจากการพิการทางร่างกาย
            5.พัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยเกิดการศึกษาในรูปแบบใหม่
            6.การทำงานเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
            7.ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากการบริโภคสินค้าที่หลากหลายและมีคุณภาพดีขึ้น
          ผลกระทบทางลบมีดังนี้
            1.ก่อให้เกิดความเครียดขึ้นในสังคม
            2.ก่อให้เกิดความการรับวัฒนธรรมหรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของคนในสังคมโลก
            3.ก่อให้เกิดผลด้านศีลธรรม
            4.การมีส่วนร่วมของคนในสังคมลดน้อยลง
            5.การละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล
            6.เกิดช่องว่างทางสังคม
            7.เกิดการต่อต้านเทคโนโลยี
            8.อาชญากรรมบนเครือข่าย
            9.ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ