วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดบทที่10

แบบฝึกหัดบทที่10
1.เพราะเหตุใดในปัจจุบันความรู้จึงมีความสำคัญกับองค์การ?
     ตอบ  เมื่อข้อมูลข่าวสารเกิดขึ้นอย่างมากมายจึงทำให้เกิดสังคมแบบใหม่ที่เรียกกันว่า สังคมสารสนเทศ  , สังคมแห่งความรู้ หรือสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้  เป็นผลให้องค์การต่างๆต้องปฏิรูปตนเองเพื่อความอยู่รอดกันอย่างเต็มที่  และรองรับกระแสความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว
2.จงอธิบายความแตกต่างระหว่างข้อมูล  ความรู้  และสารสนเทศ
     ตอบ  ข้อมูล คือ ชุดของข้อเท็จจริงเชิงวัตถุสามารถมองเห็นได้ เมื่อใช้กับหน่วยงานราชการ คำว่าข้อมูลหมายถึง บันทึกกิจกรรมทางราชการ เช่น มีผู้มาติดต่อราชการ เพื่อ ขออนุญาต ขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ข้อมูล เราสามารถบอกได้ว่า ผู้ประกอบการจะผลิตอะไร มีส่วนประกอบอะไร สถานที่ผลิตตั้งอยู่ที่ไหน เลขทะเบียนที่ ได้รับ คือหมายเลขอะไร 
 สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมี การประมวลหรือวิเคราะห์ผลสรุปด้วยวิธีการต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์กัน มีความหมาย มีคุณค่าเพิ่มขึ้นและมีวัตถุประสงค์ในการใช้งาน
                 
 ความรู้  คือ กรอบของการประสมประสานระหว่าง ประสบการณ์ ค่านิยม และความรอบรู้บริบท และความรู้แจ้งอย่างช่ำชอง เป็นการประสมประสานที่ให้กรอบของ การประเมินค่า และการนำเอาประสบการณ์และสารสนเทศใหม่ๆ มาผสมเข้าด้วยกัน
3.ลำดับขั้นของความรู้แบ่งออกเป็นกี่ประเภท  อะไรบ้าง?
     ตอบ  5  ปะเภท
1.  ความสามารถ   (Capability)
2.ความชำนาญ    (Expertise)
3. ความรู้    (Knowledge)
4. สารสนเทศ  (Information)
5. ข้อมูล    (Data)
4.โมเดลการสร้างความรู้ (SECI) ประกอบด้วยกระบวนการอะไรบ้าง และแต่ละกระบวนการมีความแตกต่างกันอย่างไร?
      ตอบ  Socialization  คือ  การสร้างความรู้ด้วย การแบ่งปันประสบการณ์โดยการพบปะ
    สมาคม และพูดคุยกับผู้อื่น ซึ่งจะเป็นการถ่ายทอด แบ่งปัน ความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคลไปให้ผู้อื่น
               Externalization คือ การนำความรู้ในตัวบุคคลที่ได้นำมาพูดคุยกันถ่ายทอดออกมาให้
    เป็นสิ่งที่จับต้องได้หรือเป็นลายลักษณ์อักษร  Combination  คือ  การผสมผสานความรู้ที่ชัดแจ้งมารวมกัน และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆเพื่อให้สามารถนำความรู้นั้นไปใช้ในทางปฏิบัติได้  Internalization คือ การนำความรู้ที่ได้มาใหม่ไปใช้ปฏิบัติหรือลงมือทำจริง ๆโดยการ ฝึกคิด ฝึกแก้ปัญหา จนกลายเป็นความรู้และปรับปรุงตนเอง
5.เพราะเหตุใดองค์การในปัจจุบันจึงเล็งเห็นเห็นความสำคัญของการจัดการความรู้?
     ตอบ  จะเห็นได้ว่า  การสร้างความรู้ให้อยู่คู่กับองค์การจะต้องอาศัยความร่วมมือของบุคลากรทั้งองค์กร ไม่ใช่เพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น  เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงานขององค์การทั้งในปัจจุบันและอนาคต  แต่สิ่งที่สำคัญที่จะทำให้เกิดการสร้างความรู้ในองค์การ คือ องค์จะต้องสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้และสร้างความรู้  และเมื่อองค์การร่วมกันสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันได้  จะทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมการเรียนรู้ขององค์การในที่สุด ดังนั้นองค์การใดที่มีการสร้างสรรค์ความรู้อย่างไม่หยุดยั้งจะเป็นแรงผลักดันอันยิ่งใหญ่ที่จะทำให้เกิดการสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ๆ ในองค์การต่อไป
6.จงอธิบายความหมายของการจัดการความรู้
     ตอบ  การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล หรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด
7.กระบวนการของการจัดการความรู้ประกอบด้วยกระบวนการที่สำคัญกี่ส่วน  อะไรบ้าง?
    ตอบ  ประกอบด้วย  6  ส่วน
1. การสร้างความรู้ (Create)
2. การจัดและเก็บความรู้  (Capture/Store)
3. การเลือกหรือกรองความรู้  (Refine)
4. การกระจายความรู้  (Distribute)
5. การใช้ความรู้  (Use)
6. การติดตาม/ตรวจสอบความรู้  (Monitor)
8.ดังที่ Brain Quiun  กล่าวไว้ว่า  “ การจัดการความรู้เป็นกระบวนการ  ไม่ใช่เทคโนโลยี แต่เทคโนโลยีถูกคาดหมายว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การจัดการความรู้ประสบผลสำเร็จ” ท่านเห็นด้วยหรือไม่  อย่างไร?
   ตอบ   เห็นด้วย เพราะเทคโนโลยีช่วยให้กระบวนการจัดการความรู้ไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่สิ่งเหล่านี้จะเป็นจริงไม่ได้หากไม่มีแหล่งข้อมูล  หรือผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทไม่มีความยินดีที่จะแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้อื่น  และจะเห็นได้ว่า  ลำพังเทคโนโลยีสารสนเทศเองก็ไม่สามารถสร้างความรู้ใหม่ๆ เพื่อให้เกิดสินค้า บริการ  กระบวนการทำงาน และนวัตกรรมใหม่ได้  เพราะทั้งหมดนี้จะมีอยู่ได้ขึ้นอยู่กับการจัดการความรู้  โดยมีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นส่วนสนับสนุน  ดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ใช่สิ่งรับประกันความสำเร็จในการจัดการความรู้  เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเพียงเครื่องมือเท่านั้น  ความสำเร็จในการจัดการความรู้จึงขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ  ไม่ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีสารสนเทศเพียงอย่างเดียว

แบบฝึกหัดบทที่9

แบบฝึกหัดบทที่9
1.จงอธิบายความหมายของระบบความฉลาดและปัญญาประดิษฐ์(AI)
     ตอบ  ระบบความฉลาดหมายถึงระบบที่แสดงพฤติกรรมที่สามารถกล่าวได้ว่ามีความฉลาดตามความรู้สึกของมนุษย์ซึ่งการศึกษาด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มักจะเรียกว่า “ปัญญาประดิษฐ์(Artificial lntelligence) หรือ AI เนื่องจากเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และสารสนเทศเป็นสาขาวิชาที่มีการพลวัตอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ความหมายและความข้าใจในหลายแขนงวิชามีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
2.AI มีการดำเนินงานที่เหมือนหรือแตกต่างจากระบบสารสนเทศทั่วไปอย่างไร
     ตอบ แตกต่าง เพราะ
1.AI ทำการประมวล(Manipuiating) ทั้งสัญลักษณ์ (Symbols) และตัวเลข (Numbers)ปกติระบบAI จะถูกพัฒนาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการประมวลสัญลักษณ์มากกว่าประมวลตัวเลข
2.AI เป็นชุดคำสั่งแบบมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนทางคณิตศาสตร์(Non-Algorithmic)หรือHeuristic ปกติระบบสารสนเทศทั่วไปจะดำเนินการวิเคราะห์และแก้ปัญหาตามขั้นตอนโดยใช้หลักการทางคณิตศาสตร์ (Algorithm)เป็นสำคัญ
3.ชุดคำสั่งของระบบ AI จะให้ความสำคัญกับการรับรู้แบบแผน (Pattern Recognition) ตามที่ถูกกำหนดมา เพื่อใช้ในการประมวลผลตามลักษณะของงาน
3.เราสามารถจำแนก  AI  ออกเป็นกี่ประเภท  อะไรบ้าง
     ตอบ     5 ประเภท
         1.การประมวลภาษาธรรมชาติ (Natural  Language  Processing)
         2.ระบบภาพ  (Vision  System)
        3.ระบบเครือข่ายเส้นประสาท  (Neural  Networks)
        4.หุ่นยนต์  (Robotics)
        5.ระบบผู้เชี่ยวชาญ  (Expert  System)
4.ระบบผู้เชี่ยวชาญคืออะไร  และมีความเหมือนหรือแตกต่างจาก AI  อย่างไร
     ตอบ  หมายถึงระบบสสารสนเทศที่ให้คำปรึกษาที่ลอกเลียนยกระบวนการใช้เหตุผลของผู้เชี่ยวชาญในสาขาความรู้นั้น
5.จงเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างระหว่างฐานความรู้กับฐานข้อมูล
     ตอบ ฐานความรู้ (Knowledge  Base)ทำหน้าที่เก็บรวบรวมและประสบการณ์ที่สำคัญของผู้เชี่ยวชาญ
ฐานข้อมูลจะเก็บรวบรวมตัวเลข,สัญลักษณ์และอาจมีส่วนแสดงความสัมพันธ์พื้นฐานระหว่างฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันระหว่างแต่ละฐานข้อมูล
6.เราสามารถประเมินความรู้ของระบบสารสนเทศว่ามีความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขาความรู้อย่างไร
     ตอบ  การทดสอบแบบ Turning (Turning Test) โดยกำหนดคอมพิวเตอร์และบุคคลที่มีความรู้ในสาขานั้นตอบคำถามจากผู้สัมภาษณ์ ผู้ตอบคำถาม และระบบความฉลาดถูกจัดให้อยู่ในห้องที่แยกจากกันอย่างเป็นสัดส่วน
7.จงอธิบายขั้นตอนในการพัฒนา  ES  ตลอดจนความเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการพัฒนา  ES  กับการพัฒนาระบบสารสนเทศปกติ
     ตอบ  1.การวิเคราะห์ปัญหา
            2.การเลือกอุปกรณ์
            3. การถอดความรู้
            4. การสร้างต้นแบบ
            5.การขยาย การทดสอบ และบำรุงรักษา
8.วิศวกรรมความรู้คืออะไร  และมีความเหมือนหรือแตกต่างจากการวิเคราะห์และออกแบบอย่างไร
     ตอบ โดยธรรมชาติ วัสดุทุกชนิดจะมีคุณสมบัติในการเปลี่ยนรูปในลักษณะทั้งแบบยืดหยุ่นได้(รูปร่างกลับมาเหมือนเดิม) และแบบถาวร (รูปร่างเปลี่ยนไปแบบถาวร ไม่เหมือนก่อนการเปลี่ยนรูป) ซึ่งการเปลี่ยนรูปดังกล่าวจะเป็นแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับแรงที่มากระทำกับวัสดุและค่าการกลับคืนตัวแบบยืดหยุ่นของวัสดุ โดยที่ถ้าแรงที่มากระทำกับวัสดุมากกว่าค่าการกลับคืนตัวแบบยืดหยุ่นของวัสดุ การเปลี่ยนรูปแบบถาวรก็จะเกิดขึ้นแต่ถ้าแรงที่มากระทำกับวัสดุไม่มากเกินค่าการกลับคืนตัวแบบยืดหยุ่นของวัสดุ วัสดุก็จะกลับคืนสู่รูปร่างเดิม
Spring back
ในกรณีการดัดงอนั้น การกลับคืนตัวดังกล่าวเราเรียกว่า Spring back (อาจแปลเป็นไทยได้ว่า การดีดตัวกลับของวัสดุ) โดยที่ผลของ Spring back นั้นทำให้วัสดุที่ทำการดัดงอเกิดการดีดตัวหรือคลายตัวกลับไปในทิศทางเดิมก่อนที่วัสดุนั้นๆจะถูกดัด ซึ่งสิ่งนี้นับเป็นปรากฏการณ์ปกติที่เกิดขึ้นได้กับวัสดุที่มีรูปร่างเป็นแผ่นเรียบทั้งแบบบางและหนา วัสดุที่เป็นแท่ง ท่อกลม วัสดุที่มีลักษณะเป็นเส้นบางๆ หรืออาจเป็นวัสดุที่มีหน้าตัดเป็นแบบอื่นๆ
การกระเด้งตัวกลับของชิ้นงาน


9.จงอธิบายการทำงานของระบบเครือข่ายใยประสาท
     ตอบ จะต้องประกอบด้วยเซลล์ประสาทที่ต่อเรียงกันเข้าเป็นระบบอย่างน้อย 2ระดับโดยระดับแรกเรียกว่า “ระดับนำเข้าทำหน้าที่รับสิ่งนำเข้าจากสิ่งแวดล้อมภายนอกเข้าสู่ระบบแล้วทำการสงต่อให้เครือข่ายในระดับถัดไปตาหน้าที่และความสัมพันธ์ที่ถูกกำหนดจนกระทั่งถึงระดับสุดท้ายหรือที่เรียกว่าระดับแสดงผลลัพธ์
10.ท่านคิดว่าแนวโน้มและทิศทางในการพัฒนาระบบความฉลาดของคอมพิวเตอร์จะเป็นไปในทิศทางใด
     ตอบ    คอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบันมีวิวัฒนาการก้าวหน้าไปมากและได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในวงการวิทยาศาสตร์แทบจะทุกสาขา สำหรับการศึกษาและการค้นคว้าวิจัยทางเคมีนั้น คอมพิวเตอร์ได้มีส่วนช่วยทำให้เกิดความก้าวหน้าอย่างมาก โดยเฉพาะในระยะหลังๆนี้ นักวิทยาศาสตร์สามารถใช้คอมพิวเตอร์คำนวณและออกแบบก่อนทำการทดลองจริง โดยใช้ผลการศึกษาจากคอมพิวเตอร์ เพื่อแนะแนวทางไปสู่วิธีที่ดีกว่าของการปฏิบัติการจริง บ่อยครั้งที่การทดลองจริงไม่สามารถจะดำเนินการได้เพราะข้อขัดข้องในเรื่องของเครื่องไม้เครื่องมือ ตลอดจนอุปกรณ์ที่มีราคาแพง หรือแม้แต่ในแง่ของขีดจำกัดทางเทคโนโลยีเองที่ไม่สามารถทำให้ทำการทดลองจริงได้ รวมถึงเรื่องของอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ทดลอง ในการทดลองบางอย่าง ในสถานการณ์เหล่านี้คอมพิวเตอร์เป็นทางออกที่ดีทีเดียว ความสำเร็จของคอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบโมเลกุลนี้ ไม่เพียงปรากฏผลเฉพาะแต่ในวงการวิชาการเท่านั้น หากยังออกดอกออกผลไปสู่อุตสาหกรรมอีกด้วย ยาหลายๆตัวที่มีขายตามท้องตลาดอยู่ในขณะนี้ ตัวอย่างเช่นยารักษาโรคเอดส์จาก Merck Research Laboratories และยาบรรเทาไข้หวัดที่ผลิตโดยSterling Winthrop ก็ผ่านขั้นตอนของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบมาแล้วทั้งสิ้น

แบบฝึกหัดบทที่8

แบบฝึกหัดบทที่8
1.  เหตุใดการตัดสินใจของผู้บริหารจึงมีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์การ?
   ตอบ     เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าผู้บริหาร (Executive) เป็นบุคคลหรือคณะบุคคลที่มีความสำคัญต่อการดำรงอยู่และอนาคตขององค์การ เนื่องจากผู้บริหารมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อการกำหนดทิศทางในอนาคตขององค์การผ่านการตัดสินใจในปัญหาหรือโอกาสสำคัญทางธุรกิจซึ่งการตัดสินใจของผู้บริหารโดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง (Top Executive)จะมีผลไม่เพียงต่อการดำเนินงานในระยะสั้น แต้ครอบคลุมถึงความอยู่รอด ความมั่นคง และความเจริญเติบโตขององค์การ นอกจากนี้การตัดสินใจของผู้บริหารจะมีคุณลักษณะที่แตกต่างจากการตัดสินใจของบุคลากรอื่นขององค์การ ไม่ว่าผู้จัดการระดับกลาง หัวหน้างาน ตลอดจนพนักงานระดับปฏิบัติการ เพราะผู้บริหารระดับสูงจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับปัญหาหรือโอกาสทางธุรกิจที่มีความซับซ้อน หลากหลายและท้าทาย
2. สารสนเทศสำหรับผู้บริหารมีคุณลักษณะสำคัญที่แตกต่างจากสารสนเทศสำหรับบุคคลอื่นในองค์การอย่างไร?
     ตอบ  ผู้บริหารแต่ละคนจะมีสัดส่วนการตัดสินใจในแต่ละลักษณะแตกต่างกันตามงานของตน หรือสถานการณ์ของธุรกิจ แต่ลักษณะร่วมในการตัดสินใจของผู้บริหารที่เหมือนกันคือ ผู้บริหารที่มีศักยภาพภาพต้องสามารถตัดสินใจในปัญหาหรือวิกฤตการณ์ขององค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำองค์การฝ่าวิกฤตและดำเนินไปสู่จุดม่งหมายที่ต้องการอย่างราบรื่น

3. ปกติผู้บริหารได้รับข้อมูลในการตัดสินใจจากแหล่งใดบ้าง ตลอดจนข้อมูลจากแต่ละแหล่งมีความสำคัญต่อการตัดสินใจของผู้บริหารอย่าง?
     ตอบ  1.ข้อมูลที่ได้จากกระบวนการดำเนินงาน (Transaction Processing Data) เป็นข้อมูลที่แสดงผลการปฏิบัติงานขององค์การ หน่วยงาน หรือระบบที่สนใจ ข้อมูลจากการดำเนินงานช่วยสร้างความเข้าใจและสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานที่ผ่านในอดีต โดยข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อการตรวจสอบ การควบคุม และการแก้ปัญหาการดำเนินงานโดยทั่วไป ตลอดจนสามารถนำมาประกอบการวางแผนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
              2.ข้อมูลจากภายในองค์การ (Internal Data) เป็นข้อมูลที่จัดทำขึ้นภายในองค์การ เพื่อแสดงให้เห็นถึงเป้าหมายหรือผลการดำเนินงานของกิจกรรม และ/หรือโครงการในด้านต่าง ๆ ขององค์การได้แก่ งบประมาณ แผนรายจ่าย การคาดการณ์ยอดขายและรายได้ และแผนทางการเงิน เป็นต้น ซึ่งข้อมูลส่วนใหญ่จะครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่ 6 เดือนจนถึงหลายปี โดยข้อมูลจะแสดงอดีต ปัจจุบัน และทิศทางในอนาคตขององค์การ เพื่อกำหนดแนวทางและจัดส่วนผสมของทรัพยากรในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ
                3.ข้อมูลจากภายนอกองค์การ (External Data) ปัจจัยภายนอกมีผลกระทบต่อองค์การโดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่การเปลี่ยนแปลงปัจจัยทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม แลวิทยาการในประเทศหนึ่งจะมีเกี่ยวเนื่องไปทั่วโลก ผู้บริหารระดับสูงมักใช้ข้อมูลที่มาจากแหล่งภายนอกมาประกอบในการตัดสินใจของผู้บริหารในด้านต่าง ๆ เช่น การวางแผนกลยุทธ์ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า หรือการตัดสินใจที่จะดำเนินธุรกิจหรือล้มเลิก เป็นต้น


4. จงอธิบายความสำพันธ์ระหว่างผู้บริหารกับเทคโนโลยีสารสนเทศ  ที่มีต่อศักยภาพในการแข่งขันในองค์การในยุคปัจจุบัน
     ตอบ   ความรวดเร็วในการเข้าถึงและแพร่กระจายข้อมูลข่าวสารจากที่หนึ่งไปยังอีที่หนึ่งตลอดจนการกระจายโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลขอคนหมู่มาก ส่งผลให้ผู้บริการองค์การทั้งภาครัฐบาลและภาคธุรกิจต้องสามารถทำการตัดสินใจทางเลือกของการแก้ปัญหาและโอกาสอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาประยุกต์ให้การดำเนินงานและปัญหาทางธุรกิจที่ซับซ้อนให้มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรมซึ่งจะช่วยลดความไม่แน่นอนและความผิดพลาดในการตัดสินใจลง แต่ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารระดับสูงกับเทคโนโลยีสารสนเทศยังมิได้เป็นความสัมพันธ์เชิงบวกทั้งด้านความเข้าใจ ทักษะ และทัศนคติที่มีต่อเทคโนโลยีสารสนเทศเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อการส่งเสริมการนำระบบสารสนเทศมาช่วยงานทางธุรกิจด้วย

5. จงแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการสร้างความเข้าใจและส่งเสริมทักษะทางสารสนเทศให้แก่ผู้บริหารระดับสูง
     ตอบ  จากการศึกษาทำให้เราสามารถกล่าวได้ว่า ผู้บริหารระดับสูงในประเทศสหรัฐอเมริกามีความรู้และนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในการทำงานมากขึ้น แต่ภาพรวมของความเข้าใจและการใช้งานของระบบสารสนเทศของผู้บริหารระดับสูง โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงในประเทศไทยยังมิได้พัฒนาทักษะทางสารสนเทศสู่ระดับที่ต้องการ และความเข้าใจอย่างแท้จริงในศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการดำเนินธุรกิจ ดังนั้นผู้บริหารรุ่นใหม่ที่เติบโตขึ้นในช่วงเวลาของการตื่นตัวด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศควรมีความเข้าใจและทักษะมากขึ้น โดยเฉพาผู้ที่เติบโตในยุคของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ในทางปฏิบัติผู้บริหารไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสารสนเทศ แต่ผู้บริหารต้องเข้าใจถึงประโยชน์ของการนำสารสนเทศมาส่งเสริมศักยภาพในการดำเนินงานขององค์การ ซึ่งจะส่งผลให้องค์การสามารถดำเนินงานโดยไม่เสียเปรียบคู่แข่งขันนอกจากนี้การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินงานของธุรกิจต้องได้รับความสำคัญและการสนับสนุนจากผู้บริหาร มิเช่นนั้นพัฒนาการของระบบสารสนเทศจะไม่สามารถเกิดขึ้นในทิศทางที่เหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์การได้

6. จงอธิบายความหมายและคุณลักษณะเฉพาะของ EIS
     ตอบ
ลักษณะ
รายละเอียด
ระดับการใช้งาน
มีการใช้งานบ่อย
ความยืดหยุ่น
สูง จะต้องสามารถเข้ากันได้กับรูปแบบการทำงานของผู้บริหาร
การใช้งาน
ใช้ในงานตรวจสอบ ควบคุม
การสนับสนุนการตัดสินใจ
ผู้บริหารระดับสูงไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน
การสนับสนุนข้อมูล
ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
ผลลัพธ์ที่แสดง
ตัวอักษร ตาราง ภาพและเสียง รวมทั้งระบบมัลติมีเดีย
การใช้งานภาพกราฟฟิก
สูง จะใช้รูปแบบการนำเสนอต่างๆ
ความเร็วในการตอบสนอง
จะต้องตอบสนองอย่างรวดเร็ว ทันทีทันใด
ตารางแสดงลักษณะเฉพาะของระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง

7. จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง EIS, DSS และ MIS
      ตอบ   EIS และ DSS ต่างถูกพัฒนาขึ้น เพื่อจัดการกับข้อมูลให้อยู่ในลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้ใช้ แต่ทั้งสองระบบจะมีความแตกต่างกันในระดับของการใช้งาน การนำเสนอข้อมูล และความยากง่ายในการใช้ โดยที่เราสามารถกล่าวได้ว่า EIS เป็น DSS ที่ถูกพัฒนาขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อตอบสนองความต้องการด้านสารสนเทศในการตัดสินใจแก้ปัญหา และการดำเนินงานของผู้บริหารที่ไม่ต้องการข้อมูลที่ละเอียดและมีความถูกต้องสมบูรณ์ แต่สร้างความเข้าใจและให้ภาพรวมของระบบหรือปัญหาที่ผู้บริหารสนใจ โดย EIS อาจได้รับการออกแบบและพัฒนาจากฐานของ DSS เพื่อให้ผู้บริหารสามารถเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และใช้งานระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนคณะที่ปรึกษาและผู้ใต้บังคับบัญชาสามารถจัดการข้อมูลที่เกี่ยวข้องใน DSS ถ้าผู้บริหารเกิดความต้องการข้อมูลมากกว่าที่ EIS ถูกพัฒนาขึ้น
8. คุณสมบัติสำคัญของ EIS   มีอะไรบ้าง?
      ตอบ  1. สนับสนุนการวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Plannig Support ) ผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่มักจะให้ความสำคัญต่อการวางแผนกลยุทธ์ขององค์การ ดังนั้นผู้พัฒนา EIS สมควรจะมีความรู้ในเรื่องกลยุทธ์ธุรกิจ (Business Strategy ) และปัจจัยสำคัญในการวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Factors) เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกำหนดแผนทางกลยุทธ์ที่สมบูรณ์
2. เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ( External Environment Focus ) ปกติสิ่งที่ผู้บริหารต้องการจากระบบสารสนเทศคือ การที่จะสามารถเรียกสารสนเทศที่ต้องการและจำเป็นต่อการตัดสินใจออกมาจากฐานข้อมูลขององค์การได้อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะข้อมูลและข่าวสารที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การเป็นสิ่งที่ผู้บริหารต้องการประกอบการตัดสินใจ โดยส่วนมาก EIS จะถูกออกแบบให้สามารถเชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลที่มาจากภายนอกองค์การ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่สำคัญที่จำเป็นต่อการตัดสินใจของผู้บริหาร
3.มีความสามารถในการคำนวณภาพกว้าง (Broad- based Computing Capabilities ) การตัดสินใจของผู้บริหารส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่มีโครงสร้างไม่แน่นอนและขาดความชัดเจน โดยส่วนใหญ่จะมองถึงภาพโดยรวมของระบบแบบกว้างๆ ไม่ลงลึกในรายละเอียด ดังนั้นการคำนวณที่ผู้บริหารต้องการจึงเป็นลักษณะง่าย ๆ ชัดเจน เป็นรูปธรรม และไม่ซับซ้อนมาก เช่น การเรียกข้อมูลกลับดู การใช้กราฟ การใช้แบบจำลองแสดงภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นต้น
4.ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน (Exceptional Ease of Learning and Use ) เนื่องจากผู้บริหารจะมีกิจกรรมที่หลากหลายทั้งภายในและภายนอกองค์การ ผู้บริหารจึงมีเวลาในการตัดสินใจในแต่ละงานน้อยหรือกล่าวได้ว่าเวลาของผู้บริหารมีค่ามาก ดังนั้นการพัฒนา EIS ควรที่จะเลือกรูปแบบการแสดงผล หรือการตอบโต้กับผู้ใช้ในแนวทางที่ง่ายต่อการใช้งานในเวลาที่สั้น เช่น ตารางแสดงผล กราฟ ภาษาที่ง่าย และการตอบโต้ที่รวดเร็ว เป็นต้น
              5. พัฒนาเฉพาะสำหรับผู้บริหาร (Customization ) การตัดสินใจของผู้บริหารส่วนใหญ่จะมีความสัมพันธ์ต่อพนักงานอื่นและต่อการดำเนินธุรกิจขององค์การ ซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analyst and Designer ) ต้องคำนึงถึงในการพัฒนา EIS เพื่อให้สามารถพัฒนา EI S ที่มีศักยภาพสูงมีประสิทธิภาพดีเหมาะสมกับการใช้งานและเป็นแบบเฉพาะสำหรับผู้บริหารที่จะเข้าถึงข้อมูลได้ตามต้องการ เช่น ข้อมูลใดที่เป็นที่ต้องการของผู้บริหารอย่างมาก หรือมีการเรียกมาใช้บ่อยควรออกแบบให้มีขั้นตอนการเข้าถึงที่ง่าย สะดวก และรวดเร็ว เช่น โดยการกดปุ่มบนแป้นพิมพ์เพียงไม่กี่ปุ่ม หรือการเคลื่อนที่และการใช้งานเมาส์ (Mouse )บนจอภาพ หรือการสั่งงานด้วยเสียงพูด ซึ่งต่างจากนระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากรระดับอื่นในองค์การที่ต้องมีขั้นตอนที่ซับซ้อนมากกว่าในการเข้าถึงข้อมูลลักษณะเดียวกัน เป็นต้น
9. ข้อดีและข้อจำกัดในการนำ  EIS   มาใช้งานในองค์การมีอะไรบ้าง?
     ตอบ           
ข้อดี
ข้อจำกัด
-ง่ายต่อการใช้งานของผู้ใช้ โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง
-มีข้อจำกัดในการใช้งาน เนื่องจาก EIS ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อใช้งานเฉพาะอย่าง
-ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้อย่างลึกซึ้งในเรื่องคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
-ข้อมูลละการนะเสนออาจจะไม้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริหาร
-ค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้ในเวลาสั้น
-ยากต่อการประเมินประโยชน์ และผลตอบแทนที่องค์การจะได้รับ
-ช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจสารสนเทศที่นำเสนออย่างชัดเจน
-ไม่ถูกพัฒนาให้ทำการประมวลผลที่ซับซ้อนและหลากหลาย
-ประหยัดเวลาในการดำเนินงาน
-ซับซ้อนและยากต่อการจัดการข้อมูล
-สามารถติดตามและจัดการสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
-ปัญหาด้านการรักษาความลับของข้อมูล

10. ท่านมีความเห็นว่ามีการประยุกต์ EIS ในองค์การในประเทศบ้างหรือไม่จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
     ตอบ   มี     ปัจจุบันพัฒนาการและการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในองค์การ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ซึ่งก่อให้เกิดความท้าทายแก่ผู้บริหารในอนาคตให้นำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ธุรกิจ โดยผู้บริหารต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และวิสัยทัศน์ต่อแนวโน้มของเทคโนโลยี เพื่อให้สามารถตัดสินใจนำเทคโนโลยีมาใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่าง
1. การปรับปรุงรูปแบบการทำงานขององค์การ
2. การสนับสนุนการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์
3. เครื่องมือในการทำงาน
4. การเพิ่มผลผลิตของงานโดยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
5.เทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสาร