วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555

ระบบปฏิบัติการ


ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (อังกฤษandroid) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพา เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ เน็ตบุ๊ก ทำงานบนลินุกซ์ เคอร์เนล เริ่มพัฒนาโดยบริษัทแอนดรอยด์ (อังกฤษAndroid Inc.) จากนั้นบริษัทแอนดรอยด์ถูกซื้อโดยกูเกิล และนำแอนดรอยด์ไปพัฒนาต่อ ภายหลังถูกพัฒนาในนามของ Open Handset Alliance[2] ทางกูเกิลได้เปิดให้นักพัฒนาสามารถแก้ไขโค้ดต่างๆ ด้วยภาษาจาวา และควบคุมอุปกรณ์ผ่านทางชุด Java libraries ที่กูเกิลพัฒนาขึ้น
แอนดรอยด์ได้เป็นที่รู้จักต่อสาธารณชนเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โดยทางกูเกิลได้ประกาศก่อตั้ง Open Handset Alliance[3] กลุ่มบริษัทฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์ และการสื่อสาร 48 แห่ง ที่ร่วมมือกันเพื่อพัฒนา มาตรฐานเปิด สำหรับอุปกรณ์มือถือ ลิขสิทธิ์ของโค้ดแอนดรอยด์นี้จะใช้ในลักษณะของซอฟต์แวร์เสรี
โทรศัพท์เครื่องแรกที่สามารถใช้งานระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ได้คือ HTC Dream ออกจำหน่ายเมื่อ 22 ตุลาคม 2551[4]
ความสามารถใหม่ของ แอนดรอยด์ 2.3 ที่เพิ่มขึ้นมาคือ Near field communication

เนื้อหา

  [ซ่อน

[แก้]รุ่น

ตัวอย่างสมาร์ตโฟน HTC EVO 4G ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์
รายละเอียดรุ่นของแอนดรอย์ ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2553[5]
รุ่นพัฒนาของแอนดรอยด์จะใช้รหัสชื่อเป็นชื่อขนมหวาน โดยมีตัวอักษรขึ้นต้นเรียงลำดับกัน
รุ่นชื่อเล่นลินุกซ์ เคอร์เนลเปิดตัว
1.05 พฤศจิกายน 2550
1.19 กุมภาพันธ์ 2552
1.5Cupcake (คัพเค้ก)2.6.2730 เมษายน 2552[6]
1.6Donut (โดนัท)2.6.2915 สิงหาคม 2552 (SDK)
2.0/2.1Eclair (เอแคลร์)2.6.2926 ตุลาคม 2552 (2.0) [7]
12 มกราคม 2553 (2.1 SDK) [8]
2.2Froyo (โฟรซเซนโยเกิร์ต)2.6.32[9]20 พฤษภาคม 2553 (SDK)
2.3Gingerbread (ขนมปังขิง)2.6.35[10]6 ธันวาคม 2553 (SDK)
3.0/3.1Honeycomb (รังผึ้ง)2.6.36[11]22 กุมภาพันธ์ 2554 (SDK)
4.0Ice Cream Sandwich (แซนด์วิชไอศกรีม)[12]19 ตุลาคม 2554 (SDK)

[แก้]กูเกิ้ลเพลย์

กูเกิ้ลเพลย์ (Google Play) เป็นร้านซอฟต์แวร์ออนไลน์ของระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ที่พัฒนาโดยกูเกิล โดยผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงกูเกิ้ลเพลย์ได้ผ่านซอฟต์แวร์ที่ชื่อว่า "Play Store" ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ โดยในกูเกิ้ลเพลย์จะแบ่งเป็นสองส่วนหลักคือ แอ๊ป (Apps) และ เกม (Games)
แอ๊ปที่อยู่ในมาร์เก็ตจะมีทั้งแอ๊ปที่แจกให้ดาวน์โหลดฟรี และแอ๊ปที่จำเป็นต้องเสียเงินซื้อ โดยการซื้อขายนั้นผู้ขายจะได้รายได้ 70% จากราคาเต็ม

[แก้]


ระบบปฏิบัติการซิมเบียน(Symbian OS)

Symbian OS
ระบบปฏิบัติการซิมเบียน (Symbian OS)  
ระบบปฏิบัติการ Symbian คือระบบปฏิบัติการที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อรองรับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย และออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้ในงานกับโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นหลัก ในการรับส่งข้อมูล เป็นระบบที่ใช้งานง่าย ประหยัดพลังงาน ใช้หน่วยความจำขนาดเล็ก และมีความปลอดภัยสูง ทำให้เหมาะที่จะนำมาใช้กับโทรศัพท์เคลื่อนที่
MobileOS 

     เนื่องจากเทคโนโลยีของโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ถูกพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและการแข่งขันที่สูง ทำให้ในระยะช่วงเวลาเพียงไม่กี่ปีเท่านั้นจึงเกิดการ พัฒนาไปอย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และเพื่อช่วงชิงความเป็นเจ้าในการครองส่วนแบ่งทางการตลาด จึงทำให้ผู้ผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่ พยามใส่คุณสมบัติต่าง ๆ เข้าไปในโทรศัพท์เคลื่อนที่ และสร้างความเป็นส่วนตัวให้กับโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อให้ผู้ใช้งาน สามารถปรับแต่งการตั้งค่าต่าง ๆ ได้ตามความต้องการของตัวเองที่สุด และเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า กลุ่มที่ต้องการใช้งานทางด้านเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต การรับ - ส่ง อีเมล์ และ การใช้งานที่ใกล้เคียงกับอุปกรณ์ PDA จึงเกิดระบบปฏิบัติการ (Operating System) บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ขึ้น และในปัจจุบันระบบปฏิบัติการบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็ได้มี การใช้การ กันในกลุ่มผู้ผลิต โทรศัพท์เคลื่อนที่หลาย ๆ บริษัทได้ผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งมีระบบปฏิบัติการ ออกวางจำหน่าย โดยระบบปฏิบัติการ ที่นิยมใช้งาน อยู่ในปัจจุบันก็มีอยู่ ค่ายคือ ซิมเบียน(Symbian OS) และ สมาท์โฟน (Smathphone) จากค่าย Microsoft
ระบบปฏิบัติการซิมเบียน (Symbian OS)  เกิดขึ้นและพัฒนาอย่างไร

      ระบบปฏิบัติการ Symbian คือระบบปฏิบัติการที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อรองรับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย และเป็นระบบปฏิบัติการ ที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้ในงานกับโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นหลัก ในการรับส่งข้อมูล เป็นระบบที่ใช้งานง่าย ประหยัดพลังงาน ใช้หน่วยความจำที่มีขนาดเล็ก และมีความปลอดภัยสูง ทำให้เหมาะสมที่จะนำมาใช้กับโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบัน และอนาคต ระบบ Symbian เกิดขึ้นและมีพัฒนาการมาจากการที่เป็นบริษัทที่เป็นผู้นำในการผลิตซอฟท์แวร์ที่รองรับการสื่อสารแบบไร้สาย Symbion OS เกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ.1998 ซึ่งในขณะนั้นมีพันธมิตรร่วมกัน รายใหญ่ คือ Ericsson, Nokia, Motorola, และ PSION ถัดมาในปี ค.ศ. 1999 Symbian ก็ได้พันธมิตรเพิ่มอีกคือ Panasonic และในปี 2000 ก็ได้มีการจับมือกับ Sony, Sanyo, Siemens
      โทรศัพท์เครื่องแรกที่มีการเปิดตัวโดยใช้ Symbian OS คือ Ericsson R380s เป็นโทรศัพท์ smart phone จากค่าย ericsson มีคุณสมบัติใหม่ ๆ มากมายในสมัยนั้นคือ มีการใช้งานจอแบบ Touch Screen มีระบบการ Sync. ข้อมูล PIM กับ Microsoft outlook หรือ Lotus note ได้ แต่จริง ๆ แล้วในสมัยนั้นไม่ใช่ ericsson ที่เป็นเจ้าแรกที่นำระบบปฏิบัติการมาใช้งานบนโทรศัพท์มือถือ โดยก่อนหน้านี้ Nokia ได้ทำมาก่อนแล้วในโทรศัพท์รุ่น nokia 9000 ซึ่งในตอนนั้น nokia ใช้ระบบปฏิบัติการ "Geos" ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการบนโทรศัพท์มือถือในยุคแรก ๆ แต่ระบบปฏิบัติการ ก็ประสบปัญหาในการใช้งานหลายอย่าง ในเรื่องการจัดการหน่วยความจำทำให้เครื่องเกิดการทำงานผิดพลาด (Hang) บ่อย ๆ และทำให้ข้อมูลของผู้ใช้งานหายไปทั้งหมด ซึ่งในรุ่นถัดมาของ nokia 9110 ก็ยังคงใช้ระบบปฏิบัติการ Geos แต่ก็ยังคงประสบปัญหาเช่นเดิม และในปี 2001 Nokia จึงเปลี่ยนระบบปฏิบัติการ จาก Geos มาเป็น Symbian และได้พัฒนา Communicator phone รุ่นใหม่คือ 9210 ออกวางจำหน่าย โดยระบบปฏิบัติการ Symbian ในรุ่นใหม่นี้ มีจุดเด่นคือเป็นระบบเปิด คุณสามารถที่จะนำโปรแกรมอื่น ๆ ที่เขียนขึ้นมาเพื่อใช้งานรองรับsymbian มาลงเพิ่มใน่เครื่องได้ และในวันนี้ nokia ก็ได้ออกโทรศัพท์ ที่ใช้เพลทฟอร์มใหม่ขึ้นมาใช้งานคือ " Series 60 Platform " เพื่อเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุค 2.5 G คือ nokia 7650 และ 3650 ออกวางจำหน่าย โดยใช้ระบบ ปฏิบัติการ symbian OS Geos
Symbian OS ทำงานได้อย่างไร
Symbian OS นั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่ระบบปฏิบัติการเท่านั้น แต่ Symbian ยังเป็นระบบเปิดที่ให้ผู้อื่น สามารถพัฒนาซอฟท์แวร์ต่างๆ บนระบบปฏิบัติการ Symbian ได้ เรียกได้ว่าในอนาคตจะมีแอพพลิเคชั่นมากมายที่ถูกสร้างขึ้นบนระบบปฏิบัติการ Symbian และยังส่งผลให้เป็นตลาดผลิตภัณฑ์ซอฟท์แวร์ที่ยิ่งใหญ่ในอนาคตอีกด้วย
Device Driver โดยพื้นฐานของ subsystem จะให้บริการ device driver และ software controller สำหรับการทำงานของ device ต่อไปนี้
·                                 DTE serial port
·                                 DCE serial port
Infrared (SIR)
USB client 1.1
SDIO Cards
Keyboard
Digitizer
Ethernet
MMC
LCD
อุปกรณ์ต่างๆ ที่ควรจะมีเมื่อคิดจะมาใช้ซิมเบี้ยน
1. โทรศัพท์มือถือ ซิมเบี้ยน (ไม่น่าบอกเลยนะว่าควรจะมี)
2. การ์ดหน่วยความจำภายนอก เช่น SD/MMC CARD, RS-MMC CARD (ปกติจะแถมมากับมือถือ)
3. คอมพิวเตอรฺ์ หรือ โน็ตบุ๊ค (อุปกรณ์ทั้งหมดทดสอบกับ WINDOWS XP)
4. อุปกรณ์เชื่อมต่อระหว่่างมือถือกับคอมพิวเตอร์ หรือ โน็ตบุ๊ค
    - อินฟราเรด (INFRARED)
    - บลูธูท (BLUETOOTH)
    - สายดาต้าลิงค์ (DATA CABLE)
    - การ์ดรีดเดอร์ (CARD READER)
ประโยชน์ของระบบปฏิบัติการ Symbian OS 
1. ใช้หน่วยความจำน้อย ทำให้มีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นระบบปฏิบัติการบนโทรศัพท์เคลื่อนที่
2. โปรแกรม Application มีขนาดเล็ก ไม่เปลือง memory
3. เป็นระบบเปิด ทำให้นักพัฒนาโปรแกรม สามารถสร้างโปรแกรมหรือเกมส์ต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้งานกับ ระบบ Symbian ทำให้เกิดการพัฒนาทางด้าน Software
4. รองรับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย ในรูปแบบใหม่ (Developing wireless service)
5. เป็นระบบที่ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีผู้ผลิตหลายเจ้าให้ความสนใจ จึงน่าจะมีการเติบโตยิ่งขึ้น
โดย นายฉัตรดนัย ทิพยวรรณ
***** 374331 ระบบปฏิบัติการและโปรแกรมประยุกต์ ****
ระบบปฎิบัติการวินโดวส์ (Windows)  
               ระบบปฏิบัติการแบบวินโดวส์ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไมโครซอฟต์วินโดวส์ เป็นระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการธุรกิจและวงการอื่น ๆทั่วโลก บริษัทไมโครซอฟต์ได้พัฒนาวินโดวส์ออกมาหลายรุ่น ได้แก่ วินโดวส์ 95 วินโดวส์ 98 วินโดวส์ 2000 วินโดวส์ Me วินโดวส์ XP และล่าสุดคือวินโดวส์ 2003 ทุก ๆรุ่นจะมีหน้าตาและการทำงานคล้าย ๆกัน ต่างกันเพียงความสามารถในการใช้งานที่สูงขึ้น
             
              การเข้าสู่ระบบปฏิบัติการแบบวินโดวส์
                       เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งโปรแกรมวินโดวส์แล้ว เมื่อเปิดเครื่องแล้วคอยสักครู่จะเข้าสู่โปรแกรมของระบบในช่วงการเปิดเครื่องโปรแกรมจะตรวจสอบระบบของฮาร์ดแวร์ต่าง ๆหลังจากนั้นจะมีจอภาพดังรูป
                      1. เดสก์ทอป (Desktop) พื้นหลังของจอภาพในระบบปฏิบัติการแบบวินโดวส์ เรียกว่า เดสก์ทอป หมายถึง โต๊ะทำงานที่มีอุปกรณ์การทำงานอยู่ครบพร้อมทำงานได้ทันที
                      2. แป้นลัด (Short cut) เป็นรูปเล็ก ๆ บนหน้าจอ สำหรับคลิกให้ทำงานหรือเปิดโปรแกรมได้โดยไม่ต้องเข้าไปเปิดโฟลเดอร์ในโปรแกรม ด้านบนขวาสุดเป็นแป้นลัดสำหรับ คลิกเข้าสู่โปรแกรมของไมโครซอฟต์ออฟฟิศ ได้แก่ ไมโครซอฟต์เวิร์ด ไมโครซอฟต์เอกเซลไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยต์ ฯลฯ เป็นต้น
                      3. สัญรูป (Icon) เป็นรูปเล็ก ๆ บนจอภาพใช้แทนการทำงานหรือคำสั่งต่าง ๆ สำหรับคลิกเพื่อให้เกิดการทำงาน
                      4. แถบงาน (Task bar) เป็นแถบสีเทาด้านล่างของเดสก์ทอป สำหรับแสดงงานที่เปิดใช้อยู่ และงานที่ปิดไว้ชั่วคราว แถบงานประกอบด้วยสัญลักษณ์ต่าง ๆดังนี้
                              v      ปุ่ม Start อยู่ด้านซ้ายของแถบงาน สำหรับคลิกเพื่อเปิดกรอบเมนูของโปรแกรม
       v      เทมเพลท (Template) อยู่ด้านขวาของแถบงาน ประกอบด้วย นาฬิกา ตัวอักษร TH และ EN บอกโหมดการใช้ภาษาของแป้นพิมพ์เป็นไทยและอังกฤษ การสลับภาษาระหว่างไทยและอังกฤษ ทำได้ 2 วิธี คือ
                                     1. ใช้เมาส์คลิกที่ตัวอักษร EN หรือ TH ในแถบงานจะมีกรอบแสดงภาษาให้เลือก ผู้ใช้คลิกเลือกภาษาที่ต้องการ ดังรูป
                                     2. กดปุ่ม Assent ที่แป้นพิมพ์สลับไทยเป็นอ้งกฤษ และอังกฤษเป็นไทย
                     5. ตัวชี้เมาส์ ปกติเป็นรูปลูกศรสีขาว มีหน้าที่คลิกเพื่อเปิดโปรแกรม ลักษณะของการใช้เมาส์มี 4 แบบ
                             v      การลากและปล่อย (Drag and Drop) เป็นวิธีการคลิกปุ่มข้างซ้ายค้างไว้ที่สัญรูป แล้วลากไปปล่อยที่ตำแหน่งอื่น
                             v      การคลิก (Click) หมายถึง ชี้เมาส์ที่สัญรูปที่ต้องการ และกดเมาส์ข้างซ้าย 1 ครั้ง 
                             v      การคลิกขวา (Right click) เป็นการกดปุ่มข้างขวา 1 ครั้ง
                             v      การดับเบิ้ลคลิก (Double click) คือการคลิก 2 ครั้งติดต่อกันอย่างเร็ว
                       6. สัญรูปหลักที่มีบนจอภาพ ได้แก่ 
                             v      My Documents เป็นรูปแฟ้มสีเหลืองเรียกว่า โฟลเดอร์ (Folder) สำหรับเก็บข้อมูลเอกสารต่างๆ ที่บันทึกจากโปรแกรมไมโครซอฟต์ออฟฟิศ เป็นการแบ่งเนื้อที่ของฮาร์ดดิสก์ออกเป็นห้องสำหรับเก็บโปรแกรมต่าง ๆ ไม่ให้ปะปนกัน
                              ในโฟลเดอร์ My documents ของวินโดวส์ Me จะแบ่งย่อยเป็น - My Pictures สำหรับเก็บรูปภาพต่าง ๆ My Music เก็บแฟ้มเสียงที่เป็นเพลงต้วอย่างไว้เราสามารถนำแฟ้มเสียงและภาพมาใส่เพิ่มเติมได้
                             v      My Computer  แสดงอุปกรณ์เก็บข้อมูลต่าง ๆ ทั้งหมดที่ติดตั้งไว้ ได้แก่ 3.5 Floppy (A:) Local Disk C: และ Compact Disc (E:) 

                                Local Disk หมายถึง อุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ติดตั้งในไว้ในระบบ จะมีชื่อเรียกเป็น A: B: C: D: E: F: ปกติเราจะติดตั้งเพียง A: เป็นฟลอปปีดิสก์ C: เป็นฮาร์ดดิสก์ และ D: เป็นซีดีรอม ปัจจุบันฮาร์ดดิสก์มีความจุมากขึ้น จึงต้องแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ถ้าแบ่ง 2 ส่วน จะได้ ฮาร์ดดิสก์ชื่อ C: และ D: ซีดีรอมจะเปลี่ยนชื่อเป็น E: อย่างอัตโนมัติ
                                 Control Panel เป็นเครื่องมือจัดการระบบปฏิบัติการและอุปกรณ์ ต่อพ่วงต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์
                                Recycle Bin เป็นที่เก็บข้อมูลที่ถูกลบจากฮาร์ดดิสก์ไว้ชั่วคราว และสามารถนำข้อมูลนั้นกลับมาใช้ได้อีก
                                   Internet Explorer สำหรับคลิกเข้าสู่ระบบอินเตอร์เนต โดยต้อง ติดตั้งระบบอินเตอร์เนตก่อน
                                Windows Media Player มีไว้สำหรับดูหนัง และฟังเพลงจาก แผ่นซีดี และ MP 3 มีอยู่ในวินโดวส์ Me และรุ่นที่สูงกว่า

                                    Microsoft Outlook สำหรับรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรือ e-mail ซึ่งต้องติดตั้งระบบอินเตอร์เนตไว้ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น